การวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการควบคุมโรคผลเน่าของกล้วยหอมทองขณะเก็บรักษา
เรืองสุนทร จ้อยบรรดิษฐ์
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2529, 75 หน้า.
2529
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการควบคุมโรคผลเน่าของกล้วยหอมทองขณะเก็บรักษา
จากการศึกษาความเสียหายของผลกล้วยหอมทองหลังการเก็บเกี่ยวจากตลาด
3 ตลาด พบโรค 4 โรคด้วยกัน ได้แก่ โรคขั้วหวีเน่า โรคขั้วผลเน่า โรคแอนแทรคโนส
และโรค Botryodiplodia
finger rot โรคขั้วหวีเน่าเป็นโรคที่รุนแรงที่สุด เสียหายประมาณ
91.43-100% โรคขั้วผลเน่าทำให้เกิดความเสียหายรองลงมาประมาณ 44.05-64.25% ส่วนอีกสองโรคที่เหลือ
คือ โรคแอนแทรคโนส และ โรค Botryodiplodia finger rot เกิดเพียงเล็กน้อย
จากการตรวจสอบเชื้อสาเหตุพบว่า
เชื้อสาเหตุของโรคขั้วหวีเน่า ได้แก่
Botryodiplodia theobromae,
Colletotrichum
musae,
Fusarium moniliforme,
Curvularia sp.,
Aspergillus niger; โรคขั้วผลเน่า ได้แก่ เชื้อรา
Botryodiplodia
theobromae และ
Colletotrichum musae; โรคแอนแทรคโนส ได้แก่ เชื้อรา
Colletotrichum musae และโรค Botrydiplodia finger rot ได้แก่
Botryodiplodia
theobromae
และจากการเปรียบเทียบวิธีการป้องกันกำจัด
แสดงให้เห็นว่า การป้องกันกำจัดโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลกล้วยหอมโดยวิธีการจุ่มในสารเคมี
2 นาที หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี benomyl, thiabendazole, thiophanate-methyl
ที่ความเข้มข้น 300-500 ppm สามารถลดการเกิดโรคได้
วิธีการที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลดีที่สุด ได้แก่ benomyl ที่ความเข้มข้น 300 ppm ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อใช้วิธีการฉีดพ่นด้วยสารเคมี
benomyl บนกล้วยหอมประมาณ 0.21-0.22 บาท/หวี และ 1.02-1.51
บาท/หวี เมื่อจุ่มผลกล้วยหอมในสารเคมี