การศึกษาวิธีการบรรจุ และการใช้สารเคมีกับต้นกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อการส่งออกทางเรือ
วัลยา ทวีสมบูรณ์
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2537, 86 หน้า.
2537
บทคัดย่อ
การศึกษาวิธีการบรรจุ
และการใช้สารเคมีกับต้นกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อการส่งออกทางเรือ
การทดลองบรรจุต้นกล้วยไม้
Den. Madame Vipa x
Den. Walter Oumae ที่มีและไม่มีเครื่องปลูกในกล่องขนาดใหญ่และขนาดเล็กแล้วเก็บในห้องมืด
อุณหภูมิ 15
oซ. นาน 15 และ 30 วัน เพื่อจำลองสภาพการส่งออกทางเรือ
แล้วนำออกปลูกในโรงเรือนพบว่าเมื่อเก็บนาน 15 วัน
ขนาดกล่องและเครื่องปลูกไม่มีผลต่อการสูญเสียน้ำหนัก และจำนวนใบร่วง
และเมื่อเก็บนาน 30 วัน การบรรจุต้นในกล่องขนาดใหญ่ทำให้มีการสูญเสียและจำนวนใบร่วงหลังปลูก
14 วัน น้อยกว่าการบรรจุในกล่องขนาดเล็ก
และต้นมีเครื่องปลูกมีจำนวนใบร่วงน้อยกว่าต้นไม่มีเครื่องปลูก
การบรรจุต้นไม่มีเครื่องปลูกโดยนำรากจุ่มน้ำแล้ววางบนแผ่นฟองน้ำ, ห่อด้วยแผ่นฟองน้ำและบรรจุแบบแห้ง
แล้วเก็บในห้องมืดอุณหภูมิ 15
oซ. นาน 15 และ 30
วัน
พบว่าการบรรจุต้นไม่มีเครื่องปลูกแบบแห้งเป็นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อพิจารณาถึงการสูญเสียน้ำหนัก
จำนวนใบร่วงในกล่องและสะดวกในการปฏิบัติ
การฉีดพ่นสารละลาย
kinetin
เข้มข้น 50 หรือ 100 มก/ล หรือ BA เข้มข้น 50
หรือ 100 มก/ล 1 ครั้งก่อนเก็บหรือ 2 ครั้งก่อนและหลังเก็บให้ต้นกล้วยไม้
Den. Madame Vipa x
Den.Candy Stripe ที่มีและไม่มีเครื่องปลูกแล้วเก็บในห้องมืดอุณหภูมิ 15
oซ. นาน 15 และ 30 วัน พบว่าการฉีดพ่น kinetin 50
มก/ล 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ให้ต้นซึ่งไม่มีเครื่องปลูกที่เก็บนาน 15 วัน
ช่วยลดจำนวนใบร่วงในกล่อง และหลังปลูก 14 วัน และการฉีดพ่น kinetin 100 มก/ล 1 ครั้ง ให้ต้นซึ่งไม่มีเครื่องปลูกที่เก็บนาน 30 วัน
ช่วยลดจำนวนใบร่วงในกล่องและหลังปลูก 14 วัน
การใช้สารละลาย
NAA เข้มข้น 25 กรือ 50 มก/ล, paclobutrazol เข้มข้น 25
หรือ 50 มก/ล และ liquinox-Start เข้มข้น
10 มล/ล ให้ต้นกล้วยไม้
Den.
Madame Vipa x
Den.Walter Oume ที่มีและไม่มีเครื่องปลูกหลังการเก็บในห้องมืดมีความยาวช่อ
และจำนวนดอกต่อช่อมากขึ้น
และการใช้สารทั้งหมดมีผลต่อต้นซึ่งไม่มีเครื่องปลูกไม่ดีกว่าเมื่อไม่ใช้สาร