ความสัมพันธ์ระหว่างอายุการเก็บเกี่ยวกับความแข็งของขั้วผลทุเรียน
รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2533, 77 หน้า.
2533
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างอายุการเก็บเกี่ยวกับความแข็งของขั้วผลทุเรียน
การทดลองใช้หัวรับแรงกดแบบทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
11 มม.,
2 มม. และแบบแบน ซึ่งมีความกว้าง 5.0 มม. และ หนา 0.5 มม.
สวมเข้ากับเครื่องวัดความแน่นเนื้อสำหรับผลไม้
กดลงบนขั้วผลส่วนเปลือกบริเวณกึ่งกลางระหว่างรอยแยก (ปลิง) กับผล
เพื่อวัดความแข็งส่วนเปลือกของขั้วผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองและชะนีที่อายุการเก็บเกี่ยวต่าง
ๆ พบว่าหัวรับแรงกดทรงกระบอกขนาด 1 มม.
มีแนวโน้มวัดค่าความแข็งของขั้วผลทุเรียนได้ดี
อีกทั้งมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ปานกลางกับปริมาณ soluble solids ของเนื้อผลด้วย คือมีค่าเท่ากับ 0.69 ในพันธุ์ชะนี และเท่ากับ 0.70
ในพันธุ์หมอนทอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการวัดความแข็งของขั้วผลทุเรียนได้ทดลองเพิ่มจำนวนหัวกดทรงกระบอกขนาด
1 มม. เป็น 3 หัว และ 6 หัว
ในการวัดความแข็งของขั้วผลทุเรียนแต่ละครั้งพบว่าสามารถอ่านค่าความแข็งของขั้วผลได้ดี
และค่าที่อ่านได้เพิ่มขึ้นตามอายุเก็บเกี่ยว ในทุเรียนพันธุ์หมอนทองซึ่งเก็บเกี่ยวเมื่อ
104, 111, 118 และ 125 วันหลังดอกบาน
วัดค่าความแข็งของขั้วผลได้เท่ากับ 3.32, 3.52, 3.84 และ 3.92 กก. ตามลำดับเมื่อใช้หัวกดแบบ 6 หัว
และมีค่าความแข็งขั้วผลเท่ากับ 1.69, 1.79, 1.97 และ 2.07 กก. ตามลำดับเมื่อใช้หัวกด 3 หัว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างอายุการเก็บเกี่ยวกับความแข็งขั้วผลเท่ากับ
0.85 เมื่อใช้หัวกดทั้งสองแบบ สำหรับทุเรียนพันธุ์ชะนีที่อายุเก็บเกี่ยว 97,
104 และ 111 วันหลังดอกบานมีค่าความแข็งขั้วผลเท่ากับ 3.56, 3.76 และ 3.78 กก. ตามลำดับเมื่อใช้หัวกด 6 หัว และมีค่าเท่ากับ 1.60,
1.89 และ 1.95 กก. ตามลำดับเมื่อใช้หัวกด 3 หัว
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างอายุการเก็บเกี่ยวกับความแข็งขั้วผลเท่ากับ 0.73
เมื่อใช้หัวกด 3 หัว และเท่ากับ 0.67 เมื่อใช้หัวกด 6 หัว
ความแข็งขั้วผลที่วัดด้วยหัวกดแบบ 6 หัวยังมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณ soluble
solids ของเนื้อทุเรียนอีกด้วย
ดังนั้นการใช้หัวกดทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม.
จำนวน 6 หัว
จึงเหมาะสมที่สุดในการวัดค่าความแข็งของขั้วผลทุเรียน
อันอาจใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความอ่อนแก่ของผลทุเรียนได้
และเมื่อศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของขั้วผลทุเรียนดังกล่าวพบว่าโครงสร้างที่ส่งผลให้ขั้วผลส่วนเปลือกแข็งขึ้นได้แก่ปริมาณ
phloem fiber ซึ่งมีจำนวนต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นเมื่อผลทุเรียนมีอายุมากขึ้น