ผลของการใช้สารเคมีหลังการเก็บเกี่ยวต่ออ่ยุการปักแจกันของดอกเยอบีรา
ธีรนุต ประยูรหงษ์
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2525. 65 หน้า.
2525
บทคัดย่อ
ผลของการใช้สารเคมีหลังการเก็บเกี่ยวต่ออ่ยุการปักแจกันของดอกเยอบีรา
ดอกเยอบีรา
(
Gerbera
jamesonii) พันธุ์สีอิฐ ซึ่งเก็บเกี่ยวจากแปลงทดลอง 2
ของภาควิชาพืชสวน ตั้งแต่เดือนมากราคม – มีนาคม
พ.ศ. 2525 โดยใช้ดอกในระยะที่ดอกย่อยบาน
4 แถว และผ่าน pulsing ในสารละลายต่าง
ๆ พบว่าพวกที่ผ่าน pulsing ด้วยสารละลาย CuSO
4.5H
2O
500 ppm + sucrose 10% นาน 60 นาที
ก่อนนำไปแช่ในสารละลาย CuSO
4.5H
2O 50 ppm + sucrose
4% โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 29.5
oซ. ความชื้นสัมพัทธ์ 80.5% โดยเฉลี่ย
ปรากฏว่าดอกมีอายุการปักแจกันได้ 8.8 วัน ซึ่งดีกว่า control
ที่มีอายุการปักแจกัน 7.4 วัน
นอกจากนี้ดอกยังมีคุณภาพดี สีดอกชั้นนอกจางลง หลังจากปักแจกันได้ 5-6 วัน และไม่เกิดอาการก้านคอดอกอ่อน
ดอกซึ่งเก็บเกี่ยวระยะที่ดอกย่อยบาน
1-2 แถว และทำ pulsing ในสารละลายต่าง ๆ พบว่าพวกที่ผ่าน
pulsing ด้วย CuSO
4.5H
2O 500
ppm + sucrose 10% นาน 60 นาทีแล้วนำไปแช่ในสารละลาย CuSO
4.5H
2O
25 ppm + sucrose 4% โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 29.9
oซ. ความชื้นสัมพัทธ์ 80.9% โดยเฉลี่ย มีผลทำให้ดอกเยอบีรามีอายุในกรปักแจกัน
9.8 วัน ซึ่งดีกว่า pulsing อย่างเดียวที่มีอายุการปักแจกัน
7.5 วัน ดอกสามารถบานได้ตามปกติ แต่มีสีจางลง
และขนาดดอกเล็กกว่าดอกธรรมดาเล็กน้อย
พวกที่เก็บเกี่ยวระยะดอกตูมและทำ
pulsing
ในสารละลาย AgNO
3 1 mM + sucrose 10% นาน 60 นาทีแล้วนำไปแช่ในสารละลายต่าง ๆ
ตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 29.8
oซ. ความชื้นสัมพัทธ์ 79.6% โดยเฉลี่ย
ปรากฏว่าดอกที่แช่ในน้ำกลั่นมีอายุการปักแจกันนานที่สุด คือ 7. 4วัน นอกจากนี้ดอกสามารถบานได้ แต่ขนาดดอกเล็กลง สีของดอกจางกว่าดอกปกติ