การศึกษาการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ดัชนีการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการบ่มผลมะม่วง (Mangifera indica L.) พันธุ์แก้วจุก
กาญจนา เหลืองสุวาลัย
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2537. 81 หน้า.
2537
บทคัดย่อ
การศึกษาการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ดัชนีการเก็บเกี่ยว
การเก็บรักษา และการบ่มผลมะม่วง (Mangifera indica L.) พันธุ์แก้วจุก
การศึกษาการเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี และดัชนีการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงพันธุ์แก้วจุก ปลูกที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ในระหว่างปี 2533-2534 พบว่า ผลและเมล็ด มีการเจริญเติบโตแบบ simple sigmoid
curve เปลือกหุ้มเมล็ด endocarp เริ่มแข็งในสัปดาห์ที่
9 เมื่อผลมะม่วงมีอายุมากขึ้น ปริมาณ soluble solids ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด
แป้ง น้ำหนักแห้ง และเบต้าแคโรทีนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้
และความแน่นเนื้อลดลง โดยผลมะม่วงแก้วจุกใช้เวลาในการเจริญเติบโต
ตั้งแต่ติดผลจนกระทั่งผลแก่เก็บเกี่ยวได้
การเก็บรักษาผลมะม่วงแก้วจุกที่อุณหภูมิ
9 และ 12
oซ.(ความชื้นสัมพัทธ์
93-96%๗ พบว่าสามารถเก็บรักษาได้นาน 24 วัน
โดยผลมะม่วงไม่สุกในระหว่างการเก็บรักษา
และไม่พบความเสียหายเนื่องจากโรคและอุณหภูมิต่ำที่ผิว และเนื้อผล
ตลอดอายุการเก็บรักษา แต่พบอาการสีเทาดำ และสีน้ำตาลในเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ด
หลังจากเก็บรักษาตั้งแต่ 9วันขึ้นไป ที่อุณหภูมิทั้ง 2 ระดับ
การบ่มมะม่วงแก้วจุกโดยใช้ก๊าซเอทิลีน
อัตรา 200
ppm และแคลเซียมคาร์ไบด์ อัตรา 10 และ 20 กรัม/น้ำหนักผลสด 1
กิโลกรัม นาน 24 และ 48 ชั่วโมง พบว่า การบ่มผลมะม่วงด้วยวิธีต่าง ๆ
เมื่อผลสุกมีคุณลักษณะ และคุณภาพสำหรับการรับประทานไม่แตกต่างกัน
การบ่มช่วยให้ผลมะม่วงสุกเร็วกว่าผลที่ไม่ได้บ่ม 3-4 วัน
และผลสุกมีการพัฒนาของสีผิวได้ดี ผลสุกพร้อมกัน