ผลของสภาพบรรยากาศดัดแปลงที่มีต่อการเก็บรักษากล้วยไข่เพื่อการส่งออก
เฉลิมชัย วงษ์อารี
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2538. 89 หน้า.
2538
บทคัดย่อ
ผลของสภาพบรรยากาศดัดแปลงที่มีต่อการเก็บรักษากล้วยไข่เพื่อการส่งออก
การศึกษาผลของสภาพบรรยากาศดัดแปลง
(MA)
ที่มีต่อการเก็บรักษากล้วยไข่ ภายใต้อุณหภูมิ 13-14
oซ (ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90%) พบว่าสภาพการเก็บรักษาภายในถุงโพลีเอทิลีน (PE) เจาะรู สามารถชะลอการสุกของผลกล้วยไข่ได้เป็นเวลา 3 สัปดาห์
ส่วนการเก็บรักษาภายในถุง PE ไม่เจาะรู
และปิดสนิทสามารถเก็บรักษากล้วยไข่ให้คงสภาพสีเขียวได้เป็นเวลา 5 สัปดาห์
แต่ภายในถุง PE มีกลิ่นผิดปกติและผลกล้วยสุกไม่ปกติ
สำหรับการเก็บรักษาภายในถุง PE ไม่เจาะรูและขมวดปากถุงที่มีสารดูดซับเอทิลีน
(EA) สามารถยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ได้เป็นเวลา 4
สัปดาห์ โดยที่กล้วยยังสุกเป็นปกติ เอทิลีนมีการสะสมค่อนข้างน้อยภายในถุง
แต่ปริมาณ CO
2 เพิ่มขึ้นและ
O
2 ลดลงอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่สภาพการเก็บรักษาภายในถุง PE ขมวดปากถุง ที่มีทั้ง EA
และสารดูดซับ CO
2 (CA) สามารถเก็บรักษากล้วยไข่ได้เป็นเวลามากกว่า 6
สัปดาห์ โดยที่กล้วยยังอยู่ในสภาพเขียวและสุกได้เป็นปกติ ปริมาณ O
2 และ CO
2 เฉลี่ยภายในถุง PE ตลอดระยะ เวลาการเก็บรักษามีค่า
8.71 และ 6.23% ตามลำดับ ระหว่างการเก็บรักษา soluble solids (SS) และ total sugars (TS) ในผลมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ขณะที่ปริมาณแป้งและความแน่นเนื้อลดลงเล็กน้อย
การลดอุณหภูมิผลกล้วยระหว่างการขนส่งไม่มีความแตกต่างทางด้านคุณภาพภายในกับผลกล้วยที่ไม่ได้ลดอุณหภูมิผลระหว่างการขนส่ง
แต่ผลกล้วยที่ลดอุณหภูมิเริ่มมีความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิต่ำ (chilling
injury; CI) เมื่อเก็บรักษาได้ 4 สัปดาห์
สำหรับการเก็บรักษากล้วยหอมทองในถุง PE ขมวดปากถุง ที่มีทั้ง
EA และ CA (ที่อุณหภูมิ 14
oซ ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90%) ได้ผลดีเช่นเดียวกับการเก็บรักษากล้วยไข่ สภาพ
MA สามารถลดอันตรายเนื่องจากอุณหภูมิต่ำและลดการเกิดโรคเน่าบริเวณรอยตัดของขั้วหวีในระหว่างการเก็บรักษาการบ่มผลกล้วยหลังการเก็บรักษา
พบว่าการบ่มกล้วยด้วยเอทิลีน (2 วัน) หรือจุ่มเอทิฟอน 500 ppm ที่อุณหภูมิ 25
oซ
ทำให้กล้วยหลังการเก็บรักษามีการพัฒนาสีเปลือกดีขึ้นกว่าผลกล้วยสุกที่อุณหภูมิห้อง
ผลกล้วยที่บ่มให้สุกมีกลิ่นและรสชาติเป็นปกติ