ความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนสะสมและความบริบูรณ์ของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้
ชมัยพร เจตตกร
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2537. 80 หน้า.
2537
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนสะสมและความบริบูรณ์ของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้
การศึกษาหาปริมาณความร้อนสะสมในผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่มีความบริบูรณ์
(maturity) เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว โดยใช้ต้นมะม่วงที่ปลูกในเขตอำเภอกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐม และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ขนาดเท่า ๆ กัน จำนวนแหล่งละ 30
ต้น ทำเครื่องหมายโดยการผูกเชือกสีเมื่อดอกบาน 50% ของช่อดอก
บันทึกอุณหภูมิจากสถานีตรวจอากาศทั้ง 2 แหล่ง และจากสวน ๆ ละ 2 จุด
แล้วคำนวนหาปริมาณความร้อนสะสมได้จากอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละวันลบด้วยอุณหภูมิต่ำสุดที่มะม่วงสามารถเจริญเติบโตได้
(18
oซ.)
และสามารถตรวจสอบคุณภาพผลทุก ๆ สัปดาห์ ตั้งแต่ผลมีอายุ 10 สัปดาห์
จนกระทั่งถึง 16 สัปดาห์
จากการทดลองพบว่ามะม่วงมีความบริบูรณ์เมื่อมีปริมาณความร้อนสะสมอยู่ระหว่าง
902-993 Celsius Degree Days (CDD)
หรือเมื่อมีอายุระหว่าง 91-105 วันหลังช่อดอกบาน 50% ซึ่งทั้ง 2
วิธีมีช่วงห่างคิดเป็นจำนวนวัน 9 และ 14 วัน ตามลำดับ มะม่วงที่มีความบริบูรณ์นี้มีปริมาณแป้งในผลดิบตั้งแต่
18-20% ความถ่วงจำเพาะตั้งแต่ 1.03 และ soluble solids ของผลสุกตั้งแต่
15
oBrix ขึ้นไป