ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของเอนไซม์ Polygalacturonase, Pectin Methylesterase, Cellulase และ b-Galacturonase และการอ่อนตัวของเนื้อทุเรียนสุก
ธิรา แดงกนิษฐ์
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 64 หน้า
2538
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของเอนไซม์ Polygalacturonase, Pectin
Methylesterase, Cellulase และ b-Galacturonase และการอ่อนตัวของเนื้อทุเรียนสุก
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของเอนไซม์
Polygalacturonase
(PG), Pectin Methylesterase (PME), Cellulase และ
และการอ่อนตัวของเนื้อทุเรียนสุกพันธุ์ชะนีที่มีอายุเก็บเกี่ยว 102 และ 109 วัน
และพันธุ์หมอนทองที่มีอายุเก็บเกี่ยว 116 และ 123 วัน ที่อุณหภูมิห้อง
พบว่าผลทุเรียนทั้งสองพันธุ์มีกระบวนการสุกตามปกติ
การผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเอทิลีนค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
โดยทุเรียนพันธุ์ชะนีที่มีอายุ 109 วัน มี climacteric peak ของการหายใจในวันที่
4 และพันธุ์หมอนทองมี climacteric peak ในวันที่ 5 เช่นเดียวกับพันธุ์ชะนีที่มีอายุเก็บเกี่ยว 102 วัน
หลังจากนั้นการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเอทิลีนลดลง
ทุเรียนพันธุ์ชะนีมีการอ่อนตัวของเนื้อค่อนข้างเร็วกว่าพันธุ์หมอนทอง
สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของปริมาณ soluble solids (SS), water soluble
pectin (WSP) โดยทุเรียนพันธุ์ชะนีที่มีอายุเก็บเกี่ยว 109 วัน มีปริมาณ SS และ WSP สูงกว่าผลที่มีอายุเก็บเกี่ยว
102 วัน รวมทั้งพันธุ์หมอนทองทั้งสองอายุเก็บเกี่ยว
การอ่อนตัวของเนื้อและการเพิ่มขึ้นของปริมาณ WSP ของทุเรียนทั้งสองพันธุ์
สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของเอนไซม์ PG และ PME
โดยทุเรียนพันธุ์ชะนีมีกิจกรรมของเอนไซม์ PG และ
PMEสูงกว่าพันธุ์หมอนทอง
แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างกิจกรรมของเอนไซม์ PME ของทุเรียนแต่ละพันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวต่างกัน
การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของเอนไซม์ cellulase ค่อนข้างคงที่
และ b-Galacturonase ไม่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด