บทคัดย่องานวิจัย

พัฒนาการและสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะละกอพันธุ์ปากช่อง 1

กาจญนา กุลวิฑิต

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2536. 65 หน้า.

2536

บทคัดย่อ

พัฒนาการและสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 การเจริญเติบโตของผลมะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 ซึ่งวัดจากการเพิ่มของขนาด น้ำหนักและปริมาตรเป็นแบบ simple sigmoid สีของ mesocarp เปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองและสีของเมล็ดเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อนเมื่อผลอยู่ในวัย หรือเมื่อผลมีอายุ 120 วันหลังดอกบาน ผิวเริ่มปรากฏสีเหลืองบริเวณปลายผลประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เมื่อผลมีอายุ 130 วัน หลังจากนั้นผิว และ mesocarp มีสีเหลืองและเมล็ดมีสีดำเพิ่มขึ้น ในเนื้อของผลมะละกออายุ 10-120 วัน มีปริมาณเพียงเล็กน้อย มีค่าอยู่ระหว่าง 42.2-204.9 international unit (I.U.) จากนั้นปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับปริมาณ soluble solids (SS) และ total sugars ของผลวัย mature green  ที่เพิ่มเป็น 2.5 และ 2.6 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่มีอายุ 10 วัน ส่วนปริมาณวิตามินซีในเนื้อ และความเข้มข้นของก๊าซเอทธิลีนภายในช่องว่างของผลลดลงในช่วงแรกของการเจริญเติบโต แล้วกลับเพิ่มขึ้นอีกเมื่อผลถึงวัย mature green ความแน่นเนื้อลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากผลมีอายุ 120 วัน ในขณะที่ titratable acidity (TA) เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

ที่อุณหภูมิ 25+1 องศาเซลเซียส ผลมะละกอซึ่งเก็บเกี่ยวในวัย mature green  วัยที่ผิวมีสีเหลือง 5 และ 15 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการหายใจสูงสุดเป็น 23.33, 24.85 และ 25.13 มล.CO2/กก./ชม. ในเวลา 4.5, 4 และ 2 วัน การผลิตเอทธิลีนถึงจุดสูงสุดก่อนหน้านั้น 0.5, 0.5 และ 1 วัน โดยมีค่าเป็น 1.01, 1.07 และ 1.46 มค.ล./กก./ชม. ตามลำดับ เมื่อผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งผล มะละกอวัย mature green มีการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุด 4.7 เปอร์เซ็นต์ มะละกอวัยที่ผิวมีแต้มสีเหลือง 15 เปอร์เซ็นต์ มีความแน่นเนื้อ SS และ TA เท่ากับ 57.4 นิวตัน 13.1 และ 0.14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าในผลมะละกออีก 2 วัยอย่างมีนัยสำคัญ และมีวิตามินซี 179.0 มก./100 มล. ของน้ำคั้น และ total sugars 142.5 มก./มล. ของน้ำคั้น ซึ่งมากกว่าในผลอีก 2 วัยอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง สำหรับปริมาณ b-carotene นั้นไม่แตกต่างกันในผลมะละกอทั้ง 3 วัยและมีค่าเท่ากับ 3,350.7 I.U.