ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการเนื้อแก้วในมังคุด
ศรีสังวาลย์ ลายวิเศษกุล
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2537. 59 หน้า.
2537
บทคัดย่อ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการเนื้อแก้วในมังคุด
ผลมังคุดที่รวบรวมจากจังหวัดจันทบุรี
ระยอง นนทบุรี ชุมพร และนครศรีธรรมราช
มีจำนวนผลที่เป็นเนื้อแก้วและความรุนแรงของอาการเนื้อแก้วสอดคล้องกับปริมาณน้ำฝนในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลมังคุดมาตรวจสอบ
กล่าวคือถ้าปริมาณน้ำฝนมากพบจำนวนผลที่เป็นเนื้อแก้วและความรุนแรงของอาการเนื้อแก้วมากด้วย
ส่วนผลที่มียางไหลและความรุนแรงของอาการยางไหลช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยวพบน้อยและเพิ่มมากขึ้นในปลายฤดูเก็บเกี่ยว
แต่ไม่ค่อยผันแปรตามปริมาณน้ำฝน
การทดลองให้น้ำเพิ่มจากปกติติดต่อกัน
5 วัน เป็นปริมาณน้ำ 75 มม.ต่อวัน
ในช่วงเวลาก่อนการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน เปรียบเทียบกับการให้น้ำตามปกติ (15-20
มม. ต่อวัน) พบว่าต้นมังคุดที่ได้รับน้ำเพิ่มจากปกติมีจำนวนผลที่เป็นเนื้อแก้วมากกว่าปกติแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
ส่วนความรุนแรงของอาการเนื้อแก้วค่อนข้างใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ยังพบว่ามังคุดแต่ละต้นในทรีตเมนต์เดียวกันมีผลที่เกิดอาการเนื้อแก้วแตกต่างกันมาก
สำหรับจำนวนผลที่มียางไหลและความรุนแรงของอาการยางไหลในต้นที่ให้น้ำเพิ่มจากปกติมีมากกว่าต้นที่ได้รับน้ำตามปกติ