บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวเคมีของเปลือกผลมังคุดที่แข็งตัวเนื่องจากได้รับอุณหภูมิต่ำ

อภิรดี อุทัยรัตนกิจ

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต เกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2538. 71 หน้า

2538

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวเคมีของเปลือกผลมังคุดที่แข็งตัวเนื่องจากได้รับอุณหภูมิต่ำ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวเคมีของเปลือกผลมังคุดที่แข็งตัวเนื่องจากได้รับอุณหภูมิต่ำ พบว่าผลมังคุดที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 และ 10 องศาเซลเซียสมีการสูญเสียน้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา และผลมังคุดที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส มีความแน่นเนื้อของเปลือกมากกว่า ขณะที่มีปริมาณ total phenolics น้อยกว่าผลมังคุดที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส และเมื่อนำผลมังคุดที่ผ่านการได้รับอุณหภูมิต่ำ 5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 9 วัน มาเก็บรักษาในสภาพที่มีออกซิเจน พบว่ามีกิจกรรมของเอนไซม์ peroxidase, polyphenol oxidase (PPO), การสูญเสียน้ำหนัก, ปริมาณลิกนิน และ ความแน่นเนื้อของเปลือกมากกว่า ขณะที่มีปริมาณ soluble pectin และ total phenolics น้อยกว่าผลมังคุดที่เก็บรักษาในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เมื่อนำผลมังคุดที่ผ่านการได้รับอุณหภูมิต่ำ 5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 9 วัน มาเก็บรักษาที่ระดับอุณหภูมิ 25, 30 และ 35 องศาเซลเซียส พบว่า การสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อของเปลือก ปริมาณลิกนิน กิจกรรมของเอนไซม์ peroxidase และกิจกรรมของเอนไซม์ PPO มีค่าเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาตามระดับอุณหภูมิข้างต้น ขณะที่มีปริมาณ total phenolics ลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษา เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการดูดกลืนแสงของสารที่สกัดจากเปลือกผลมังคุดที่ได้รับอุณหภูมิต่ำและไม่ได้รับอุณหภูมิต่ำ พบว่าสาร  phenolics มีค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดเท่ากันที่ 207, 270, 280 และ 315 นาโนเมตร เมื่อนำไปศึกษาคุณสมบัติโดยวิธีโครมาโตกราฟีแบบแผ่นเคลือบ (thin-layer chromatography, TLC) โดยใช้ chloroform : acetic acid ในอัตราส่วน 4 : 1เป็นตัวทำละลาย พบว่า สามารถแยกสารกลุ่ม phenolics ได้ 8 กลุ่มซึ่งมี Rf ดังนี้ 0.00, 0.06, 0.17, 0.32, 0.43, 0.53, 0.70 และ 0.81 โดย spectrum ของสารกลุ่ม phenolics ที่สกัดได้จากเปลือกผลมังคุดที่ได้รับอุณหภูมิต่ำมีลักษระเช่นเดียวกับเปลือกผลมังคุดที่ไม่ได้รับอุณหภูมิต่ำ