การเจริญเติบโต ดัชนีการเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาผลกล้วยหอมพันธุ์แกรนด์เนนในสภาพบรรยากาศดัดแปลง
อนันดา ทองกลัด
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 2538. 84 หน้า.
2538
บทคัดย่อ
การเจริญเติบโต
ดัชนีการเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาผลกล้วยหอมพันธุ์แกรนด์เนนในสภาพบรรยากาศดัดแปลง
การเจริญเติบโตของผลกล้วยหอมพันธุ์แกรนด์เนนมีลักษณะเป็นแบบ
single sigmoid ความแน่นเนื้อ, ปริมาณแป้ง,
และ soluble solids เพิ่มขึ้นจนกระทั่งผลอายุ
9, 8 และ 11 สัปดาห์ ตามลำดับ หลังจากนั้นจึงลดลง
เหลี่ยมผลลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และเห็นไม่ชัดเจนเมื่ออายุ 12 สัปดาห์
ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวซึ่งทำให้คุณภาพผลภายหลังการบ่มสูงสุด คือ 11-12
สัปดาห์ หลังจากกาบปลีหุ้มหวีเปิด
การเก็บรักษาผลกล้วยหอมพันธุ์แกรนด์เนนในสภาพบรรยากาศดัดแปลง
ณ อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส (ชสพ. 85-90%) โดยบรรจุผลในถุงพลาสติกปิดสนิท (sealed polyethylene bag, SPEB),
SPEB ใส่สารดูดซับแก๊ส CO
2 (cA), SPEB ใส่สารดูดซับแก๊ส C
2H
4 (eA) หรือ SPEB ใส่สารดูดซับแก๊ส CO
2 (cA) และ SPEB ใส่สารดูดซับแก๊ส C
2H
4 (eA)
ปรากฎว่าตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาเป็นเวลา 45 วัน ความเข้มข้นของ CO
2, O
2 และ C
2H
4
ในทุกวิธีการมีค่าอยู่ระหว่าง 0.03-5.85, 4.91-10.92% และ
0.01-0.06 ppm ตามลำดับ การสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อ,
soluble solids, total sugars สีเปลือกและสีเนื้อเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
หลังจากบ่มให้สุกด้วย C
2H
4 ที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส
ผลกล้วยในทุกวิธีการมีคุณภาพการรับประทานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แต่ผลจาก SPEB,
SPEB + cA, SPEB + eA และ
SPEB + cA + eA มีการหักของขั้วเมื่อนำมาบ่มให้สุกถ้าเก็บรักษานานเกินกว่า
45, 50, 50 และ 55 วัน ตามลำดับ