การศึกษาการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและดัชนีการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วง (Mangifera indica L.) พันธุ์น้ำดอกไม้
ดวงตรา กสานติกุล
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2526, 56 หน้า.
2526
บทคัดย่อ
การศึกษาการเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและดัชนีการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วง (Mangifera indica L.)
พันธุ์น้ำดอกไม้
การศึกษาการเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและดัชนีการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วง (Mang
ifera
indica L.) พันธุ์น้ำดอกไม้ กระทำโดยนำผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้
ซึ่งปลูกที่สถานีฝึกนิสิตเกษตรปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มาทำการศึกษาและวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการกลาง
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2524 ถึง เดือนมิถุนายน 2526 พบว่าการเจริญของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ตั้งแต่ติดผลจนผลแก่เต็มที่
ใช้เวลาประมาณ 12 สัปดาห์ โดยมีการเจริญเติบโตเป็นแบบ simple
sigmoid curve สำหรับเมล็ดใช้เวลาเจริญเต็มที่ประมาณ 9 สัปดาห์หลังจากติดผลและมีลักษณะการเจริญแบบเดียวกับการเจริญของผล ส่วนของ endocarp
แข็งตัวในสัปดาห์ที่ 10 หลังจากติดผล
ปริมาณกรดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในระยะแรกของการเจริญของผลหลังจากนั้นจึงลดลงจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
total soluble solids ค่อนข้างคงที่และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อผลแก่เต็มที่
ปริมาณน้ำตาลประเภท reducing ค่อนข้างคงที่ตลอดระยะการเจริญของผล
ปริมาณ total nonstructural carbohydrates
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการติดผล 8 สัปดาห์
จนกระทั่งเก็บเกี่ยว อัตราส่วนระหว่าง TSS กับปริมาณกรดซิตริคเพิ่มขึ้นอย่างช้า
ๆ เมื่อผลอายุมากขึ้นตามลำดับ จำนวนวันตั้งแต่ติดผล ความถ่วงจำเพาะ (1.03-1.04) ปริมาณ heat unit (815.2-1,002.7 CDD)
และอัตราส่วนของ total soluble solids : acid สามารถใช้เป็นดัชนีเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ได้
โดยผลมีคุณภาพสูงสุดเมื่ออายุอยู่ในช่วง 99-111 วันหลังจากติดผล
และเมื่อผลสุก ผลมีความแน่นเนื้ออยู่ในช่วง 8.4-7.3 ปอนด์
อัตราส่วนระหว่าง TSS กับปริมาณกรดมากกว่า16 สีเนื้ออยู่ในระดับ 10YR 8/10 moderate orange yellow และมีปริมาณ b-carotene เท่ากับ 3498-3788 mg
ต่อน้ำหนักสด 100 กรัม