การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของทุเรียนพันธุ์ชะนีภายหลังการเก็บเกี่ยว
เพ็ชร์รัตน์ บุญเจิม
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2533, 57 หน้า.
2533
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพันธุ์ชะนีภายหลังการเก็บเกี่ยว
การศึกษาผลของอุณหภูมิต่ำต่อการสุกของทุเรียนพันธุ์ชะนีที่แก่เต็มที่
พบว่า ผลทุเรียนเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส เกิด chilling
injury ภายในเวลาประมาณ 3 สัปดาห์
แต่จะพบอาการดังกล่าวหลังจากเก็บไว้เพียง 1 สัปดาห์
ถ้าย้ายผลทุเรียนมาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ส่วนเนื้อที่บรรจุในถาดโฟมห่อด้วยฟิล์ม PVC
(polyvinyl chloride) และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นานถึง 4 สัปดาห์ โดยคุณภาพเนื้อ
ได้แก่ สีเนื้อ ความแน่นเนื้อ ปริมาณ soluble solids เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
แต่หลังจากนั้นสีเนื้อเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม
เมื่อเปรียบเทียบเนื้อทุเรียนที่บรรจุในถาดโฟมกับเนื้อทุเรียนทั้งผลพบว่ายังมีกระบวนการสุกต่าง
ๆ เกิดขึ้น โดยเนื้อทุเรียนในถาดโฟมมีสีเหลืองอ่อนกว่า ปริมาณ soluble solids น้อยกว่าและความแน่นเนื้อลดลงช้ากว่า ทั้งนี้เพราะความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในถาดโฟมสูงกว่าภายในผล
โพแทสเซียมเปอร์มังกาเนตชะลอการสุกของเนื้อทุเรียนในถาดโฟมได้ประมาณ 3 วัน ส่วนเอทิฟอนไม่เร่งให้เกิดการสุกเร็วกว่าปกติในสภาพการบรรจุเช่นนี้
การายใจและการผลิตเอทิลีนของเนื้อทุเรียนทั้งผลมีลักษณะเหมือนผลไม้ประเภท climacteric ทั่วไป โดยมีอัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีนสูงสุดเท่ากับ 400 mgCO
2.kg
-1h
-1 และ 30 ml.kg
-1h
-1 ตามลำดับ อัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีนของเปลือกสูงกว่าเนื้อประมาณ
1-5 เท่า และ 5-100 เท่า ตามลำดับ
และมีลักษณะที่เพิ่มขึ้นในตอนแรกแล้วลดลงแบบ climacteric แต่ของเนื้อทุเรียนนั้นอัตราทั้งสองมีลักษณะ
climacteric ไม่ชัดเจน