บทคัดย่องานวิจัย

การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อทุเรียนพันธุ์ชะนีและพันธุ์หมอนทองภายหลังการเก็บเกี่ยว

สุดารัตน์ สุตพันธ์

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2536, 79 หน้า.

2536

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อทุเรียนพันธุ์ชะนีและพันธุ์หมอนทองภายหลังการเก็บเกี่ยว การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของทุเรียนพันธุ์ชะนีอายุเก็บเกี่ยว 103 และ 110 วัน พันธุ์หมอนทองอายุ 118 และ 125 วันหลังดอกบาน พบว่าองค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่ในพันธุ์ชะนีมีปริมาณสูงกว่าพันธุ์หมอนทอง และผลแก่มีปริมาณค่อนข้างสูงกว่าผลอ่อน โดยเฉพาะปริมาณเบต้า-แคโรทีนเริ่มต้นในพันธุ์ชะนีมีถึง 233 และ 245 I.U. ต่อน้ำหนักสด ในผลอายุ 103 และ 110 วันตามลำดับ ขณะที่พันธุ์หมอนทองผลอายุ 118 วันมีเพียง 24 I.U. และ 41 I.U. ในผลอายุ 125 วัน เมื่อนำทุเรียนทั้งสองพันธุ์ทุกวัยมาเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 20oซ  และอุณหภูมิห้อง (30+2oซ) พบว่าพันธุ์ชะนีเกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางเคมีเร็วกว่าพันธุ์หมอนทอง โดยสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างชัดเจนภายหลังเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 3 วัน แต่พันธุ์หมอนทองแสดงลักษณะดังกล่าวเมื่อเก็บรักษาไว้ประมาณ 6 วัน โดยที่ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ น้ำ soluble solids น้ำตาลทั้งหมด น้ำตาลรีดิวซ์ และเบต้า-แคโรทีนเพิ่มขึ้น แต่แป้งลดลง ตามระยะเวลาการเก็บรักษา ส่วนไขมันในพันธุ์ชะนีมีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่หมอนทองมีปริมาณค่อนข้างคงที่และพันธุ์ชะนีทั้งสองวัยมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ขณะที่พันธุ์หมอนทองผลที่มีอายุ 125 วันเกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก และเร็วกว่าผลอายุ 118 วัน และพบว่าการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางเคมีในผลทุเรียนทั้งสองพันธุ์เกิดได้ดีทั้ง 2 อุณหภูมิ แต่ที่อุณหภูมิห้องมีผลกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็ววก่าที่อุณหภูมิ 20oซ