ผลกระทบของสภาพบรรยากาศที่ดัดแปลงและอุณหภูมิต่ำที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลมะม่วง (Mangifera indica L.) พันธุ์น้ำดอกไม้
มาโนชญ์ กูลพฤกษี
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2534, 121 หน้า.
2534
บทคัดย่อ
ผลกระทบของสภาพบรรยากาศที่ดัดแปลงและอุณหภูมิต่ำที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลมะม่วง
(Mangifera indica L.) พันธุ์น้ำดอกไม้
การศึกษาผลกระทบของสภาพบรรยากาศที่ดัดแปลงและอุณหภูมิต่ำที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้
ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการของหน่วยวิจัยพืชผลหลังเก็บเกี่ยว
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2533 โดยใช้ผลมะม่วงอายุ 95-100 วันหลังจากดอกบานเต็มที่ เก็บรักษาในถุง polypropylene (PP) ขนาด 12” x 17” หนา 31 m และ polyethylene
(PE) 12” x 17” หนา 39 m ทั้งไม่เจาะรูและเจาะรูเข็มหมุด 8 รู ซึ่งมีและไม่มีสารดูดซับเอทิลีน (ethylene absorbent, EA) และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10
oซ. ความชื้นสัมพัทธ์ (RH) 90-93% พบว่า
ผลมะม่วงที่เก็บรักษาในถุง PP เจาะรูเข็มหมุด 8 รูทั้งที่มีและไม่มี EA มีอายุการเก็บรักษานานกว่าการเก็บรักษาในสภาพอื่น
ๆ คือ เก็บรักษาได้นาน 21.7 และ 23.3 วัน
ตามลำดับ บรรยากาศภายในถุง PP ดังกล่าวมี CO
2,
O
2 และ C
2H
4 เฉลี่ยในระหว่างการเก็บรักษา
12.38-14.94%, 8.91-10.72% และ 0-0.51 ppm ตามลำดับ ถุง PP เจาะรูทั้งหมด 8 รูทั้งที่มีและไม่มี EA สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักและการเหี่ยว
ชะลอกระบวนการสุกทั้งทางกายภาพและชีวเคมี
ลดการเกิดกลิ่นและรสชาติที่ผิดปกติและลดความเสียหายที่เกิดจากอุณหภูมิต่ำ (chilling
injury, CI) ของผลมะม่วงได้
ผลมะม่วงที่เก็บรักษาในถุงพลาสติกที่อุณหภูมิ 10
oซ.
และวางไว้ให้สุกที่อุณหภูมิห้องมี total soluble solids
(TSS), TSS/TA (titratable acidity) ratio, reducing sugars (RS) และ
total nonstructural carbohydrates (TNC) ลดลง แต่ TA
เพิ่มขึ้นเมื่อการเก็บรักษานานขึ้นในสภาพบรรยากาศดัดแปลงที่อุณหภูมิ
10
oซ. และความเสียหายที่เกิดจาก
CO
2(CO
2 injury) และ CI มีความรุนแรงมากขึ้น อาการCI ที่พบ คือ
ผิวของผลมีสีน้ำตาลไหม้ เนื้อของผลช้ำหรือมีสีน้ำตาลไหม้ endocarp มีสีดำ seed coat และ cotyledon มีสีคล้ำ CO
2 injury เกิดขึ้นมากในถุง PP
ที่ไม่ได้เจาะรู และ CI นั้นเกิดขึ้นน้อยในถุง
PP และ PE ที่เจาะรู
เมื่อเก็บรักษาผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ในถุง
PP เจาะรูเข็มหมุด 4, 8 และ 12 รู
ที่อุณหภูมิ 10
oซ. และ RH
90-93% พบว่า ผลมะม่วงที่เก็บรักษาในถุง PP
เจาะรูเข็มหมุด 8 และ 12 รู
มีอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าการเก็บรักษาในสภาพอื่น ๆ คือ เก็บรักษาได้นานเท่ากัน
คือ 23 วัน บรรยากาศภายในถุง PP เจาะรูเข็มหมุด
8 และ 12 รู มี CO
2,
O
2 และ C
2H
4 เฉลี่ยในระหว่างการเก็บรักษา
11.60-15.60%, 10.69-13.67% และ 0.15-0.93 ppm ตามลำดับ ถุง PP เจาะรูเข็มหมุด 8 และ 12 รู สามารถลดการสูญเสียน้ำหนัก ลดอาการเหี่ยว
ชะลอกระบวนการสุกทั้งทางกายภาพและชีวเคมี และลดการเกิด CI ของผลมะม่วงได้
ผลมะม่วงที่เก็บรักษาในถุงพลาสติกที่อุณหภูมิ 10
oซ.
และวางไว้ให้สุกที่อุณหภูมิห้องมี TSS, TSS/TA ratio, วิตามินซี, TNC, total sugars, แป้ง และ b-carotene
ลดลง แต่มี TA และ CI เพิ่มขึ้นเมื่อการเก็บรักษานานขึ้นในสภาพบรรยากาศดัดแปลงและอุณหภูมิ
10
oซ. อาการ CI ที่พบ คือ endocarp มีสีดำ seed coat และ cotyledon มีสีคล้ำ และเนื้อของผลมีสีน้ำตาลไหม้
แต่ไม่พบอาการสีน้ำตาลไหม้ที่ผิวของผลและไม่เกิด CO
2 injury