บทคัดย่องานวิจัย

สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของผลน้อยหน่า (Annona squamosa Linn.) และการเก็บรักษาของผลน้อยหน่าออสเตรเลีย (Annona x ‘African Pride”)

หัตถ์ชัย กสิโอฬาร

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2534. 66 หน้า.

2534

บทคัดย่อ

สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของผลน้อยหน่า (Annona squomosa Linn.) และการเก็บรักษาของผลน้อยหน่าออสเตรเลีย (Annona x ‘African Pride”) ผลน้อยหน่าพันธุ์ฝ้าย พันธุ์หนัง และออสเตรเลียพันธุ์ African Pride ที่มีวัยเดียวกันกับที่ชาวสวนเก็บเกี่ยว มีอัตราการหายใจอยู่ในช่วงขึ้นเนิน (climzcteric rise : CR) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลน้อยหน่าดังกล่าวเลยวัยแก่จัดและกำลังมีกระบวนการสุกเกิดขึ้น ทั้งนี้มีอัตราการหายใจสูงสุด (climacteric peak : CP) เกิดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว 4, 3 และ 4 วัน ตามลำดับ โดยผลนิ่มและมีกลิ่นหอมเกิดขึ้นพร้อมกับ CP ทั้ง 3 พันธุ์ นอกจากนี้ ผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ มักเกิดการปริแตกบริเวณรอบ ๆ ขั้วผลหลังจาก CP แล้ว 1 วัน สำหรับรูปแแบอัตราการผลิตเอทธิลีนของผลน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายและพันธุ์หนัง มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีอัตราสูงสุด (ethylene peak : EP) เกิดขึ้นพร้อมกับ CP ส่วนในผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ เกิด CP แล้ว 2 วัน การสุกตามธรรมชาติของผลน้อยหน่าพันธุ์ฝ้าย พันธุ์หนัง และออสเตรเลียฯ ใช้ระยะเวลา 4, 3 และ 5 วัน หลังการเก็บเกี่ยว ตามลำดับ และผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักมากกว่าอีก  2 พันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้เปอร์เซ็นต์เปลือกของผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ มีน้อยกว่า แต่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อ เมล็ดและจำนวนเมล็ดมากกว่าผลน้อยหน่าทั้ง 2 พันธุ์ ส่วนเปอร์เซ็นต์ soluble solids (SS) ของผลน้อยหน่าทั้ง 3 พันธุ์ มีค่าใกล้เคียงกัน  แต่เปอร์เซ็นต์ titratable acidity (TA) ปริมาณวิตามินซี และคุณภาพการรับประทานของผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ มีค่ามากกว่าผลน้อยหน่าทั้ง 2 พันธุ์ ยกเว้นอัตราส่วน SS/TA ของผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ มีค่าต่ำสุด

ผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ ขนาดใหญ่พิเศษ ใหญ่ กลาง มีเปอร์เซ็นต์เปลือก เนื้อ ไส้ (receptacle) หรือเมล็ดใกล้เคียงกัน ส่วนผลขนาดเล็กมีเปอร์เซ็นต์เลือกหรือเมล็ดมากกว่าผลที่มีขนาดใหญ่กว่า แต่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อและไส้น้อยกว่าผลที่มีขนาดใหญ่กว่า ผลขนาดเล็กและกลางมีจำนวนเมล็ดน้อยกว่าผลขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษประมาณ 2 เท่า สำหรับเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักลดน้อยลงเมื่อผลมีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ ขนาดของผลไม่มีผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์ SS และคุณภาพการรับประทาน ดังนั้นผลขนาดกลางจึงเป็นผลที่ให้ประโยชน์มากที่สุดสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ

อัตราการหายใจสูงสุดของผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ มีระดับลดลงเมื่อผลมีวัยมากขึ้น ผลแก่จัดที่ชาวสวนเก็บเกี่ยวและผลที่เก็บเกี่ยวก่อนชาวสวน 1 สัปดาห์ เมื่อเกิด CP ผลนิ่ม มีกลิ่นหอม และเปลือกผลปริแตกหลังจาก CP 1วัน สำหรับผลที่เก็บเกี่ยวก่อนชาวสวน 2 สัปดาห์ ผลนิ่ม มีกลิ่นหอม และเปลือกผลปริแตกก่อนการเกิด CP 2, 1 และ  0วัน ตามลำดับ แต่ผลที่เก็บเกี่ยวก่อนชาวสวน 3 สัปดาห์ ผลนิ่มก่อน CP 1 วัน และมีกลิ่มหอมในวันเดียวกันกับที่เกิด CP อัตราการผลิตเอทธิลีนคล้ายกับอัตราการหายใจ คือ EP มีระดับลดลงเมื่อผลมีวัยมากขึ้น

ผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ ที่มีวัยแก่จัด ซึ่งชาวสวนเก็บเกี่ยว และผลที่เก็บเกี่ยวก่อนชาวสวน 1, 2 และ 3 สัปดาห์ เมื่อบ่มด้วย ผลสุกเร็วกว่าพวกที่ปล่อยให้สุกเองตามธรรมชาติ 1, 2, 3 และ 3 วัน ตามลำดับ ผลในวัยเดียวกันที่บ่มด้วย  CaC2 มีการสูญเสียน้ำหนักน้อยกว่าพวกที่ปล่อยให้สุกเอง และเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักลดน้อยลงเมื่อผลมีวัยมากขึ้น เปอร์เซ็นต์เปลือก เนื้อ และเมล็ดของผลที่มีวันเดียวกันโดยสุกต่างกัน ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อผลมีวัยมากขึ้นในขณะที่เปอร์เซ็นต์เนื้อ, TA และปริมาณวิตามินซีน้อยกว่าพวกที่ปล่อยให้สุกเองฯที่มีวัยเดียวกัน ผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ ที่บ่มด้วย CaC2 มีเปอร์เซ็นต์การปริแตก จำนวนรอยปริแตก ความยาวของรอยปริแตกต่อผล และคะแนนการปริแตก น้อยกว่าผลที่ปล่อยให้สุกเองฯ อย่างมีนัยสำคัญในพวกที่มีวัยเดียวกัน ในกรณีของผลที่เก็บเกี่ยวก่อนชาวสวน 1, 2 และ 3 สัปดาห์ แล้วบ่มด้วย CaC2ไม่ปรากฏการปริแตก

เมื่อนำผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ ที่พ่นด้วย GA3100 ส่วนต่อล้านส่วน (ส.ต.ล.) จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยว มาเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 5oซ. ปรากฏว่า อัตราการหายใจของผลน้อยหน่าพวกนี้แปรปรวน ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะ  แต่เกิดอาการสะท้านหนาว (chilling injury : CI) หลังจากเก็บรักษาผลแล้ว 10 วัน ที่อุณหภูมิ 10oซ.  และ15 oซ. ผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ แสดงอาการ climacteric อย่างชัดเจน โดยมี CP เกิดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว 11 และ 14 วัน ตามลำดับ CP ที่อุณหภูมิ 10oซ.  ต่ำกว่าที่อุณหภูมิ 15 oซ. ประมาณ 3 เท่า และไม่พบอาการปริแตกของผลทุกระดับอุณหภูมิ อัตราการผลิตเอทธิลีน ณ อุณหภูมิ มีความแปรปรวนลักษณะคล้ายคลึงกับอัตราการหายใจ และมีอัตราต่ำกว่าที่อุณหภูมิ 10oซ.  และ15 oซ.

ผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ ที่เก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลง (modified atmosphere : MA) ซึ่งมีความเข้มข้น CO2 สะสมอยู่ภายในถุง polyethylene (PE) ที่มี 8 รู น้อยกว่าพวก 4 รู ซึ่งมากกว่า 0 รู แต่การสะสมของ C2H4 ภายในถุง PE 8 รูมีมากกว่าพวก 4 รูซึ่งมากกว่า 0 รู การสะสมของ CO2 และ C2H4 ณ อุณหภูมิ 10oซ. มีมากกว่า 5 oซ.  นอกจากนี้ผลในถุง PE ไม่เจาะรูที่อยู่ในอุณหภูมิทั้งสองหลังจากเก็บรักษาไว้ 3 วัน แล้วนำมาบ่มปรากฏว่า ผลสุกไม่สม่ำเสมอและมีกลิ่นหมัก สำหรับผลที่เก็บรักษาไว้ 15 วัน ภายในถุง PE 4 และ 8 รู ณ อุณหภูมิ 5oซ. เกิดอาการสะท้านหนาว ส่วนพวกที่เก็บรักษาไว้นาน 21 วัน ณ อุณหภูมิ 10oซ. ภายในถุง PE 8 รู ผลนิ่ม แต่ผลที่อยู่ในถุง PE 4 รู ยังมีสภาพดิบและเมื่อนำมาบ่มก็สามารถสุกได้อย่างปกติ ในระหว่างการเก็บรักษาผลน้อยหน่าออสเตรเลียฯ  พบว่าเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนัก SS/TA มีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์ TA, ปริมาณวิตามินซีและคุณภาพการรับประทานมีค่าลดลง