ผลของคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ สารดูดความชื้น และระยะเวลาในการเก็บรักษาที่มีต่อการเก็บรักษาของเมล็ดจิบโซฟิลา (Gypsophila elegans Bieb.)
อภิชาติ จิตนุยานนท์
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2528. 113 หน้า.
2528
บทคัดย่อ
ผลของคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ สารดูดความชื้น
และระยะเวลาในการเก็บรักษาที่มีต่อการเก็บรักษาของเมล็ดจิบโซฟิลา (Gypsophila
elegans Bieb.)
การศึกษาผลของคาร์บอนไดออกไซด์
อุณหภูมิ silica
gel และระยะเวลาในการเก็บรักษาที่มีต่อความชื้น ความมีชีวิต
และความแข็งแรงของเมล็ดจิบโซฟิลา (
Gypsophila elegans Bieb.)
โดยนำเมล็ดที่ผลิตจากดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
มาทำการศึกษาที่ห้องปฏิบัติการพืชสวนหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ในเดือนกรกฎาคม 2526 โดยทำความสะอาดเมล็ดด้วยวิธีฝัดและบรรจุเมล็ดในถุงพลาสติก
ปิดปากถุงด้วยยางรัดและเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25
oซ. เพื่อรอทำการทดลอง ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2526
ถึง ธันวาคม 2526 เมล็ดจิบโซฟิลาเมื่อเริ่มศึกษามีความชื้น
13.88% และความงอก 70% นำมาบรรจุในถุงพลาสติกปิดสนิทร่วมกับ
silica gel 0 กรัม 1 กรัม และ 2
กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด 4 กรัม
พร้อมกับเติมคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับบรรยากาศภายในถุงเมื่อเริ่มทดลองมีความเข้มข้น 0
(0.03%) 25% 50% และ 100%
แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5
oซ. 9
oซ. 25
oซ. และอุณหภูมิห้อง
(26
o- 33
oซ.) เป็นระยะเวลา
12 สัปดาห์ ทำการทดสอบความชื้น ความงอก
และความแข็งแรงของเมล็ดทุก ๆ 2 สัปดาห์
เมล็ดจิบโซฟิลาซึ่งเก็บรักษาร่วมกับ
silica
gel มีความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดสมดุลย์ ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นความชื้นของเมล็ดอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่
โดยเมล็ดที่เก็บรักษาร่วมกับ silica gel 0 กรัม 1 กรัม และ 2 กรัมต่อน้ำหนักเมล็ด 4กรัม มีความชื้นเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 2 ถึง
12 สัปดาห์ เท่ากับ 13.87% 11.66% และ 9.67% ส่วนเมล็ดจิบโซฟิลาซึ่งเก็บรักษาในบรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ 0% ถึง 10% ที่อุณหภูมิระดับต่าง ๆ กันเป็นระยะเวลา 2 ถึง 12 สัปดาห์มีความชื้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ
ความงอกของเมล็ดจิบโซฟิลาซึ่งเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ
5
oซ. และ 9
oซ.
มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติตลอดระยะเวลาในการเก็บรักษา 2 ถึง 12 สัปดาห์ โดยมีความงอกเฉลี่ย 68% เท่ากัน และมีค่าไม่แตกต่างกันกับความงอกของเมล็ดเมื่อเริ่มเก็บรักษา
ในขณะที่เมล็ดจิบโซฟิลาที่เก็บรักษาในบรรยากาศของคาร์บอนไดออกไซด์ 0% ถึง 100% ร่วมกับ silica gel ปริมาณต่าง
ๆ กันมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติตลอดระยะเวลาในการเก็บรักษา 2 ถึง 12 สัปดาห์
การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดจิบโซฟิลา
3 วิธี พบว่า
การเร่งอายุของเมล็ดเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีวัดดัชนีการงอกและน้ำหนักแห้งของต้นกล้า
จากการใช้วิธีการเร่งอายุของเมล็ด ปรากฏว่า อุณหภูมิ 5
oซ. ช่วยรักษาความแข็งแรงของเมล็ดจิบโซฟิลาให้อยู่ในระดับค่อนข้างคงที่
ตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์
และไม่แตกต่างกันทางสถิติกับเมล็ดเมื่อเริ่มทดลอง
ในขณะที่เมล็ดจิบโซฟิลาซึ่งเก็บเกี่ยวไว้ที่อุณหภูมิ 9
oซ. มีความแข็งแรงลดลงหลังการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 10
สัปดาห์ ส่วนที่อุณหภูมิ 25
oซ.
และอุณหภูมิห้องความแข็งแรงของเมล็ดจิบโซฟิลาลดลงในสัปดาห์ที่ 8
โดยความแข็งแรงของเมล็ดซึ่งเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องลดลงในอัตราที่เร็วกว่าและมากกว่าเมล็ดซึ่งเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ
25
oซ. สำหรับเมล็ดจิบโซฟิลาซึ่งเก็บรักษาไว้ในบรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์
และ silica gel ระดับต่าง ๆ กันเป็นระยะเวลา 2 ถึง 12 สัปดาห์ มีความแข็งแรงไม่แตกต่างกันทางสถิติ
การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพบางประการระหว่างเมล็ดจิบโซฟิลา
ซึ่งผลิตจากดอยอินทนนท์กับเมล็ดซึ่งผลิตจากต่างประเทศ พบว่า
เมล็ดจิบโซฟิลาซึ่งผลิตจากดอยอินทนนท์มีความงอก 70% ซึ่งต่ำกว่าเมล็ดซึ่งผลิตจากต่างประเทศ
8% และจากการตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดโดยวิธีการเร่งอายุของเมล็ด
ดัชนีการงอกของเมล็ด และน้ำหนักแห้งของต้นกล้า ปรากฏว่า
เมล็ดจิบโซฟิลาซึ่งผลิตจากดอยอินทนนท์มีความแข็งแรงต่ำกว่าเมล็ดจิบโซฟิลาซึ่งผลิตจากต่างประเทศ
ทำให้เมล็ดจิบโซฟิลาที่ผลิตจากดอยอินทนน์มีอายุการเก็บรักษาสั้นกว่าเมล็ดที่ผลิตจากต่างประเทศ