การยืดอายุปักแจกันของดอกกล้วยไม้หวายยุพดีวัน โดยใช้กลูโคส ซูโครส ไฮดรอกซีควิโนลีนซัลเฟต ซิลเวอร์ไนเตรท และซิลเวอร์ไธโอซัลเฟต
อัจฉรา บุญโรจน์
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2530, 143 หน้า.
2530
บทคัดย่อ
การยืดอายุปักแจกันของดอกกล้วยไม้หวายยุพดีวัน โดยใช้กลูโคส ซูโครส
ไฮดรอกซีควิโนลีนซัลเฟต ซิลเวอร์ไนเตรท และซิลเวอร์ไธโอซัลเฟต
การศึกษาการยืดอายุปักแจกันของดอกกล้วยไม้หวายยุพดีวัน
(
Dendrobium
Youppadeewan) โดยใช้กลูโคส ซูโครส ไฮดรอกซีควิโนลีนซัลเฟต
ซิลเวอร์ไนเตรท และซิลเวอร์ไธโอซัลเฟต ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ
โดยมีน้ำประปาเป็นตัวทำละลาย ทดลองที่ห้องปฏิบัติการสรีรวิทยา ภาควิชาพืชสวน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ซึ่งเป็นห้องที่ไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (อุณหภูมิ 31.6
oซ. และความชื้นสัมพัทธ์ 57.8% โดยเฉลี่ย)
ทดลองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2529 พบว่า
สารละลายซึ่งสามารถยืดอายุปักแจกันของดอกกล้วยไม้หวายยุพดีวันได้นานที่สุดนั้น
ประกอบด้วย กลูโคส 4% + ไฮดรอกซีควิโนลีนซัลเฟต 225 มก/ลิตร + ซิลเวอร์ไนเตรท 30
มก/ลิตร โดยทำให้ดอกกล้วยไม้มีอายุปักแจกันนาน
34.7 วัน การบานของดอกตูมเพิ่มขึ้นถึง 74.5% และสามารถชะลอการเหี่ยวครั้งแรกของดอกบานได้นานถึง 17.1 วัน ขณะที่ดอกกล้วยไม้ที่ปักแจกันในน้ำประปามีอายุปักแจกัน 6.1 วัน การบานของดอกตูมเพิ่มขึ้น 7.8%
และดอกบานเริ่มเหี่ยวครั้งแรกเมื่อปักแจกันได้ 4.7 วัน
เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารละลายสูตรที่ได้จากการทดลองกับสารจากต่างประเทศ
คือ Chrysal
และ Florever พบว่า
ดอกกล้วยไม้หวายยุพดีวันตอบสนองต่อสารละลายสูตรที่ได้จากการทดลองดีกว่า Chrysal
และ Florever ดอกกล้วยไม้หวายยุพดีวันจากแหล่งปลูกต่าง
ๆ ตอบสนองต่อสารละลายสูตรที่ได้จากการทดลองแตกต่างกัน
สารละลายสูตรที่ได้จากการทดลองกับหวายยุพดีวันสามารถยืดอายุปักแจกันหวายปอมปาดัวร์
(
D. Pompadour) และหวายขาว (
D. Walter
Oumae) ได้ด้วย
การทดลองทำพัลซิ่งดอกกล้วยไม้หวายยุพดีวันในสารละลายที่มีกลูโคส
ไฮดรอกซีควิโนลีนซัลเฟต และซิลเวอร์ไนเตรท ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ พบว่า
การพัลซิ่งดอกกล้วยไม้ในกลูโคส 10% + ซิลเวอร์ไนเตรท 150 มก/ลิตร + ไฮดรอกซีควิโนลีนซัลเฟต
200 มก/ลิตร นาน 2 ชั่วโมง สามารถยืดอายุดอกกล้วยไม้ได้นาน 11.5 วัน
ในขณะที่ดอกกล้วยไม้ที่ไม่ได้รับการพัลซิ่งมีอายุปักแจกัน 5.3 วัน เมื่อใช้สารละลายสูตรที่ได้จากการทดลอง (กลูโคส 4%
+HQS 225 มก/ลิตร + AgNO
3
30 มก/ลิตร) กับดอกกล้วยไม้ที่บรรจุกล่องเพื่อเลียนแบบการส่งออกต่างประเทศเป็นเวลา
3 วัน พบว่า
ดอกกล้วยไม้ที่ก้านดอกเสียบในหลอดพลาสติกที่มีสารละลายและนำไปปักแจกันในสารละลายอีกครั้งหลังออกจากกล่องสามารถยืดอายุปักแจกันได้นานที่สุด
58.3 วัน
ในขณะที่ดอกกล้วยไม้ที่ปลายก้านดอกอยู่ในหลอดพลาสติกที่มีน้ำประปามีอายุปักแจกันเพียง
7.5 วัน
ดอกกล้วยไม้หวายยุพดีวันที่ปักแจกันในสารละลายกลูโคส
4%
+HQS 225 มก/ลิตร + AgNO
3 30 มก/ลิตร
มีอัตราการดูดน้ำและน้ำหนักสดสูงกว่าดอกกล้วยไม้ที่ปักแจกันในน้ำประปา
เมื่อย้อมชิ้นส่วนปลายก้านดอกที่ปักแจกันในน้ำประปาและสารละลายด้วย ruthenium
red พบว่า ส่วน phloem ของก้านดอกที่ปักแจกันในน้ำประปาและสารละลายสีชมพูเหมือนกัน
แสดงว่า มีการสะสมของเพคติน แต่ส่วน xylem ของก้านดอกที่ปักแจกันในน้ำประปามีสีดำคล้ำมากกว่าดอกกล้วยไม้ที่ปักแจกันในสารละลาย
แสดงว่า ก้านดอกที่ปักแจกันในน้ำประปามีการอุดตันใน xylem มากกว่า
phloem