คุณภาพของส้มโอเมื่อเก็บรักษาไว้ที่ระดับอุณหภูมิที่จะเกิด chilling injury
อุมาพันธ์ จิราภรณ์
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2533. 79 หน้า.
2533
บทคัดย่อ
คุณภาพของส้มโอเมื่อเก็บรักษาไว้ที่ระดับอุณหภูมิที่จะเกิด chilling injury
การเก็บรักษาผลส้มโอพันธุ์ทองดี
และขาวน้ำผึ้ง อายุ 7.5
เดือน นับจากดอกบาน ที่ 1
+1
oซ เป็นเวลา 0, 7, 14, 21 และ 28 วัน เพื่อใช้เป็นวิธีการกำจัดแมลงวันทอง
พบว่าภายหลังการเก็บรักษาแล้วย้ายมาที่อุณหภูมิห้อง (29
oซ ) 1 หรือ 7 วัน
สีผิวของส้มโอเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย, ความแน่นเนื้อ, ปริมาณกรดและอัตราส่วนของน้ำตาลต่อกรดผันแปรเล็กน้อย ปริมาณ soluble
solids และวิตามินซีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณ ethyl
alcohol เพิ่มสูงขึ้น
โดยเฉพาะส้มโอที่ย้ายมาเก็บรักษาต่อไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน ความเปรี้ยว ความหวาน ความแฉะ เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่พบอาการ chilling
injury ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3
โดยส้มโอมีกลิ่นและรสที่ผิดปกติไป
เมื่อเก็บรักษาผลส้มโอทั้งสองพันธุ์ที่
1
+1
oซ เป็นเวลา 2 สัปดาห์
แล้วย้ายมาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2, 4 และ 6 สัปดาห์ พบว่า ส้มโอทั้งสองพันธุ์มีการสูญเสียน้ำหนัก สีผิว ปริมาณกรด
ปริมาณ soluble solids อัตราส่วนระหว่างกรดต่อน้ำตาล
ปริมาณวิตามินซี ความหวาน ความเปรี้ยว ความแฉะ
กลิ่นและรสเปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างไปจากส้มโอที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องตลอดเวลา
(control) แต่ความแน่นเนื้อในพันธุ์ทองดี และปริมาณ ethyl
alcohol กลิ่นและรสผิดปกติ (chilling injury) ในพันธุ์ขาวน้ำผึ้งเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเมื่อเก็บไว้ที่
10
oซ นานขึ้น
ส่วนในพันธุ์ทองดีไม่ปรากฏกลิ่นและรสผิดปกติ
แมลงวันทองระยะไข่, นอนระยะที่
1, 2 และ 3 มีเปอร์เซ็นต์การตายเท่ากับ
100 เมื่อได้รับอุณหภูมิ 1
oซ
เป็นเวลา 5 วันขึ้นไป