อิทธิพลของวันปลูกและอายุการเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
พิเชษฐ เวชวิฐาน
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2536. 65 หน้า.
2536
บทคัดย่อ
ปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม มกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ.2533-34 ณ วิทยาเขตกำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นครปฐม พบว่า มีจำนวนดอกบานสูงสุดเมื่อ 59 วันหลังปลูก (272 ดอกต่อต้น), 66 วันหลังปลูก (240 ดอกต่อต้น), 80 วันหลังปลูก (108 ดอกต่อต้น) และ 67 วันหลังปลูก (51 ดอกต่อต้น) ตามลำดับ เมล็ดแก่ทางสรีรวิทยาที่ 21 วันหลังดอกบาน สีเมล็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่อ 27 และ 33 วันหลังดอกบาน (ปลูกเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ตามลำดับ) และให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์สูงสุด (86.72 กิโลกรัมต่อไร่) เมื่อปลูกเดือนพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวที่ 50 วันหลังดอกแรกบาน เป็นเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 73.70 เปอร์เซ็นต์ และ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน 26.30 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดสีน้ำตาลเข้มมีคุณสูงกว่าเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ผักกาดเขียวกวางตุ้งให้เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน เมื่อปลูกเดือนมกราคม และไม่ติดเมล็ดเมื่อปลูกเดือนกุมภาพันธ์