บทคัดย่องานวิจัย

โรคผลเน่าของทุเรียนหมอนทองที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivore (Butl.) Butl. และการควบคุม

รัติยา พงศ์พิสุทธา

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2535. 99 หน้า.

2535

บทคัดย่อ

โรคผลเน่าของทุเรียนหมอนทองที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivore (But 1.) และการควบคุม

โรคผลเน่าของทุเรียนหมอนทองเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora (But 1.)

But 1.  ลักษณะแผลมีสีน้ำตาลเข้ม รูปร่างค่อนข้างกลม ผลทุเรียนหมอนทองที่ปลูกเชื้อด้วยเส้นใย sporangium และ zoospore มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค 70  30  และ 10 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เมื่อปลูกเชื้อด้วยเส้นใย บ่มเป็นระยะเวลา 4  6  8  10  12  และ 14 ชั่วโมง พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคสูงสุด (100 เปอร์เซ็นต์) เมื่อบ่มเชื้อเป็นระยะเวลา 14 ชั่วโมง การเก็บเกี่ยวผลทุเรียนโดยใช้กระสอบรับแล้วนำไปใส่เข่ง กระสอบรับแล้ววางกองบนพื้นดินบริเวณโคนต้น  กระสอบรับแล้ววางกองบนกระสอบป่านบริเวณโคนต้น  หรือโดยตัดขั้วทุเรียนปล่อยให้ตกดิน พบว่าเมื่อเก็บเกี่ยวผลทุเรียนโดยปล่อยให้ตกดินมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคสูงสุด (75 เปอร์เซ็นต์) ส่วนวิธีการบ่มโดยจุ่มในสารละลาย ethrel  1,000 ppm วางกองบนพื้นที่มีกระสอบป่านรองรับ วางกองบนพื้นที่มีกระสอบป่านรองรับโดยไม่จุ่ม ethrel วางกองบนพื้น ที่มีกระสอบรองรับแล้วคลุมทับด้วยกระสอบป่าน จุ่ม ethrel 1,000 ppm แล้วบรรจุในกล่องกระดาษ บรรจุกล่องกระดาษโดยไม่จุ่ม ethrel และจุ่ม ethrel 1,000 ppm แล้ววางบน pallet พบว่า การบ่มมีผลต่อการเกิดโรค โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค 10.7  11.3  10.3  9.3  6.0  และ  8.0 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และผลทุเรียนหมอนทองที่ปลูกเชื้อด้วยเส้นใย เก็บไว้ในสภาพที่มีความชื้น อุณหภูมิ 15  20  25  และ  30 องศาเซลเซียส มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคสูงสุดที่  25 องศาเซลเซียส (100 เปอร์เซ็นต์)

              จากการศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมี etridiazole, fosety1 - A1 และ phosphonic acid ในการควบคุมโรคผลเน่าของทุเรียนหมอนทอง ซึ่งผ่านการปลูกเชื้อด้วยเส้นใยและบ่มเชื้อเป็นระยะเวลา 21 ชั่วโมง พบว่า การจุ่มในสารละลาย  fosety1 – A1 อัตราความเข้มข้น 4,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นระยะเวลา 3 นาที สามารถควบคุมโรคผลเน่าได้ดี และเมื่อระยะเวลาในการบ่มเชื้อลดลงเป็น 14 ชั่วโมง และลดอัตราความเข้มข้นของสารเคมี  fosety1 – A1 เป็นอัตราความเข้มข้น 2,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยจุ่มผลทุเรียนเป็นเวลา 1 นาที พบว่าสามารถควบคุมโรคผลเน่าของทุเรียนหมอนทองได้ดีเช่นกัน