บทคัดย่องานวิจัย

โรคขั้วผลเน่าของผลมะม่วงภายหลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Dothiorella dominicana Pet. et. Cif. และการควบคุม

ผุสดี พันธุ์ประสิทธิ์

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2529. 123 หน้า.

2529

บทคัดย่อ

โรคขั้วผลเน่าของผลมะม่วงภายหลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา

การสำรวจโรคขั้วผลเน่าของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ อกร่อง ทองคำ จากแหล่งปลูกอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พบเชื้อราสาเหตุโรคที่สำคัญ ได้แก่ Botryodiphldia theobromae 28.50 เปอร์เซ็นต์ Dothiorella spp. 26.67 เปอร์เซ็นต์ และ Phomopsis mangiferae 3.83 เปอร์เซ็นต์ โดยแสดงอาการที่ขั้วผลเป็นแผลสีดำเน่าลามอย่างรวดเร็วในลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก แต่มีรูปร่างและขนาดของเชื้อที่แตกต่างกันคือ B. theobromae สร้าง pycnidia สีดำ มีปากเกิดรูปร่างแบบ flask ขนาดเฉลี่ย 267.90 x 198.02 ไมครอน conidia มีเซลเดียว สีใส ผนังหนา รูปไข่ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสองเซล สีน้ำตาล ขนาดเฉลี่ย 25.45 x 14.09 เชื้อรา D.dominicana สร้าง pycnidia สีดำ มีปากเปิด ขนาดเฉลี่ย 25.45 x 14.09

ไมครอน เชื้อรา D. dominicana สร้าง pycnidia สีดำ มีปากเปิด ขนาดเฉลี่ย 231 x 169.94 ไมครอน  conidia มีเซลเดียว สีใส รูปร่างแบบ ovoid ถึง fusoid ขนาดเฉลี่ย 19.99 x 4.89 ไมครอน  เชื้อรา D.mangiferae สร้าง pycnidia  มีปากเปิด ผนังหนา ขนาดเฉลี่ย 218.40 x 162.86 ไมครอน conidia มีเซลเดียวสีใส ขนาดเฉลี่ย 19.23 x 3.98 ไมครอน ส่วนเชื้อรา P. mangiferae สร้าง pycnidia รูปถ้วย ผนังหนา ขนาดเฉลี่ย 276.64 x 225.06 ไมครอน conidia มีเซลเดียว สีใส ขนาดเฉลี่ย 6.98 x 2.6 ไมครอน

              เชื้อรา D. dominicana เจริญได้ดีบน oat meal agar และสร้าง pycnidia ได้ดีใน  glucose peptone agar หรือ malt extract agar อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราคือ 30 องศาเซลเซียส ที่ความเป็นกรดเป็นด่าง 4 – 6  การให้แสงแบบต่อเนื่องช่วยให้เชื้อราเจริญเติบโตและสร้าง pycnidia ได้ดีคือ sucrose และ D-glucose ตามลำดับ ส่วนแหล่งไนโตรเจนคือ L-methionine หรือ casein hydrolysate และ asparagine หรือ casein hydrolysate ตามลำดับ และพบว่า การเพิ่มแหล่งคาร์บอนช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและสร้าง pycnidia ได้ดีกว่าการเพิ่มไนโตรเจน

              การปลูกเชื้อรา D. dominicana ลงบนผลมะม่วง โดยใช้เส้นใย หรือ conidia  ทำให้เกิดโรคได้ดีเท่าเทียมกัน แต่การปลูกเชื้อเป็นเวลา 12 ชั่วโมง แสดงอาการของโรคได้ดีกว่าเวลา 6 ชั่วโมง และเชื้อเข้าทำลายผลมะม่วงทางบาดแผลเท่านั้น โดยเฉพาะส่วนขั้วผล เมื่อผลมะม่วงแสดงอาการของโรค พบว่าเปอร์เซ็นต์น้ำตาลภายในผลมะม่วงเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ขณะที่ผลมะม่วงแสดงอาการของโรคมากขึ้น

              เชื้อรา D. dominicana จากประเทศออสเตรเลียและไทยมีความแตกต่างกันในลักษณะการเจริญเติบโตบนอาหาร ขนาดของ pycnidia conidia และ conidiophore เพียงเล็กน้อย แต่แหล่งของเชื้อจากประเทศไทยสามารถทำให้เกิดโรคและสร้าง pycnidia บนผลมะม่วงได้ดีกว่าแหล่งของเชื้อจากประเทศออสเตรเลีย

              การใช้สารเคมี Benlate 75-C (carbendazim)  และ Fundazole (benomy1) ความเข้มข้น 500 ppm.  แช่ผลมะม่วงเป็นเวลานาน 3   5  หรือ  7 นาที ให้ผลในการควบคุมโรคขั้วผลเน่า ของผลมะม่วงที่เกิดจากเชื้อรา D. domonicana  ได้ดี เช่นเดียวกับการใช้น้ำร้อนอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส แช่ผลมะม่วงเป็นเวลา  5  หรือ  7  นาที