บทคัดย่องานวิจัย

สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากรำข้าวหอมมะลิและคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ

หทัยกาญจน์ กกแก้ว และ ศุภวรรณ ถาวรชินสมบัติ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 38 ฉบับที่ 5 (พิเศษ). 2550. หน้า 177-180.

2550

บทคัดย่อ

สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากรำข้าวหอมมะลิและคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ

หาสภาวะเหมาะสมในการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากโปรตีนรำข้าวหอมมะลิ 105 ที่ถูกไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์ทางการค้า Protex 6L เพื่อให้ค่าตอบสนองคือ กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ (Radical scavenging activity, RSA) และปริมาณผลผลิตสูงสุดโดยวิธีการประเมินพื้นผิวตอบสนอง  มี 2 ขั้นตอน คือ (1) คัดเลือกตัวแปรของสภาวะการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทที่มีผลสำคัญต่อค่า RSA โดยใช้แผนการทดลอง Fractional Factorial Design (FFD)ศึกษา 4 ตัวแปร ได้แก่ น้ำต่อโปรตีน    รำข้าว (W/R)(2-6โดยน้ำหนัก) เอนไซม์ต่อสับสเตรท (E/S) (1–5% โดยน้ำหนักโปรตีน)เวลา (t)(2-6 ชม.) และอุณหภูมิ (T) (50-60°ซ) กำหนดให้ pH คงที่ที่ 8.0 พบว่า W/R เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญต่อค่า RSA (p<0.05) ขั้นตอนที่ 2 หาสภาวะเหมาะสมในการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทโดยวิธีการประเมินพื้นผิวตอบสนอง โดยศึกษา 2 ตัวแปร ได้แก่ pH (x1) (7.5-8.5) และ W/R (x2) (3-5โดยน้ำหนัก) กำหนดให้ตัวแปรอื่นคงที่ (E/S=3%, t=4 ชม และ T=55°ซ) ใช้แผนการทดลอง Central composite design (CCD)ที่ให้ค่าตอบสนองคือ RSA (Y1)ปริมาณผลผลิต (Y2) และระดับการย่อยสลาย (Y3) จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถดถอยเชิงพหุ พบว่าสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบสนองและตัวแปรคือ Y1 = 26.98 - 5.44 x12 – 3.22 x2(R2 = 0.8155); Y2 = 30.48 - 2.14 x12 - 0.80 x2(R2 = 0.8952) และ Y3 = 17.35 - 0.42 x2 - 0.83 x12 - 0.94 x22 (R2 = 0.8970)สภาวะเหมาะสมที่ให้ค่า RSA สูงสุด คือ pH = 7.94และ W/R = 3.93 ให้ค่า RSA 27.08% ปริมาณผลผลิต 30.45%และระดับการย่อยสลาย 17.36%เมื่อทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองโดยทดลองผลิตที่ 4 สภาวะไฮโดรไลซิส พบว่าค่าที่ได้จากการทดลองและจากการทำนายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)