อิทธิพลของพันธุ์และขนาดเมล็ดทานตะวัน ที่มีต่อสมรรถนะของชุดกะเทาะแบบแรงเหวี่ยง
นฤเบศร์ หนูใสเพ็ชร และสมโภชน์ สุดาจันทร์
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 38 ฉบับที่ 5 (พิเศษ). 2550. หน้า 185-188.
2550
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของพันธุ์ทานตะวัน(ไพโอเนียร์-จัมโบ้ และแปซิฟิค-33) และขนาดเมล็ด(เล็ก กลาง โต และคละ) ที่มีต่อสมรรถนะของชุดกะเทาะแบบแรงเหวี่ยง โดยใช้จานเหวี่ยงแบบ 6 ใบเหวี่ยง ซึ่งพบว่าพันธุ์ของทานตะวัน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนขนาดเมล็ดมีผลอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ต่อเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ และเมล็ดแตกหัก เมล็ดโตให้ผลการกะเทาะสูงสุด รองลงมาเป็น เมล็ดกลาง เมล็ดคละ และเมล็ดเล็กตามลำดับ โดยมีเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเฉลี่ย 86.65 65.87 47.50 และ 31.96 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ที่อัตราการป้อน 60 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และความเร็วรอบจานเหวี่ยงกะเทาะ 2600 รอบต่อนาที(35.37 เมตรต่อวินาที)