ประสิทธิภาพการลดเชื้อ Salmonellaspp. และ Listeria sp. บนซากสุกรโดยการฉีดพ่นด้วยสารละลายโอโซน
สืบเนื่อง ชัยชนะ ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์ ฆรณี ตุ้ยเต็มวงศ์ และ อรุณ บ่างตระกูลนนท์
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 38 ฉบับที่ 5 (พิเศษ). 2550. หน้า 395-398.
2550
บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพสารละลายโอโซนต่อการลดการปนเปื้อน Salmonella spp.และ Listeria sp. ที่มักปนเปื้อนบนหนังหมูที่มีปริมาณเชื้อเริ่มต้น 4-5 log CFU/g เมื่อฉีดพ่นสารละลายโอโซนด้วยระบบผ่านท่อ venturyที่ความเร็ว 0.8 L/minความดัน 0.5 bar เป็นเวลานาน (X1) 10-120 วินาที ที่ระยะห่าง (X2) 10-30 ซม. และทิ้งให้มีเวลาสัมผัสโอโซนนาน (X3) 5-15นาที พบว่าเมื่อฉีดพ่นนานขึ้น และเวลาการสัมผัสนานขึ้น จะมีประสิทธิภาพการทำลายเชื้อแกรมลบSalmonella spp. และแกรมบวกListeria sp.ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และที่สภาวะเดียวกันพบว่าโอโซนมีประสิทธิภาพลดเชื้อ Salmonella spp.และสูงกว่า Listeria sp. (p<0.05) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการลดเชื้อ Salmonella spp. (Y= 0.686-0.0134X1+0.0068X2-0.0247X3) และ Listeria sp. (Y= 0.2729-0.0052X2+0.025X3) กับระยะห่าง เวลาฉีดพ่น และเวลาสัมผัสารละลายโอโซน พบว่ามีค่าสัมประสิทธิความสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.82 และเท่ากับ 0.69 ตามลำดับ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำสมการสหสัมพันธ์ดังกล่าว ประเมินประสิทธิภาพการลดการปนเปื้อน Salmonella spp. และ Listeria sp. ด้วยสารละลายโอโซนในอนาคต ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราดแสดงว่าการฉีดพ่นด้วยน้ำโอโซนอิ่มตัวสามารถทำลายเมมเบรนของแบคทีเรียที่ทดสอบได้