การใช้เทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์เพื่อช่วยในการจำแนกและปรับปรุงพันธุ์ฟรีเซียร์
เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์
บทคัดย่อ การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 5, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร, 28-29 มิถุนายน 2550. 151 หน้า.
2550
บทคัดย่อ
เก็บข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีระวิทยาของฟรีเซียร์ 36 ชนิด และเลือกตัวแปรจากลักษณะดังกล่าว 9 ชนิดเพื่อใช้คำนวณในการสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ พบว่าฟรีเซียร์ทั้ง 36 ชนิดถูกจำแนกเป็น 8 กลุ่ม ทั้งนี้ RAPD markerได้ถูกนำมาใช้เพื่อจำแนกฟรีเซียร์ทั้ง 36 ชนิดเช่นกัน พบว่า การใช้ไพรเมอร์ 30 ชนิด สามารถก่อให้เกิดแถบDNAที่แสดงความแตกต่างในแต่ละชนิดได้ถึง 86 แถบ นำข้อมูลมาสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ ซึ่งสามารถจำแนกฟรีเซียร์เป็น 8 กลุ่ม และสามารถแยก F. corymbosaออกจาก F. occidentalis และF. refractaได้อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าการใช้วิธีการทั้งสองวิธีนี้สามารถใช้ในการจำแนกฟรีเซียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ไพรเมอร์ OPG-12ก่อให้เกิดแถบDNAที่มีขนาด 837 เบส ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับสีชมพูของกลีบดอกF. corymbosaนำไพรเมอร์คู่นี้มาสร้างเป็น SCAR makerขนาด 637 เบส ทดสอบแล้วพบว่าปรากฏแถบDNAในทุกตัวอย่างของ F. corymbosa แต่ไม่พบในชนิดอื่นทั้ง 32 ชนิด DNAmakerนี้ยังตรวจพบในลูกผสมที่ดอกมีสีโทนแดง ชมพู คราม และม่วง ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าลูกผสมเหล่านี้อาจมีแหล่งกำเนิดของสีชมพูมาจาก F. corymbosa