บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ความเข้มข้นสูงเป็นระยะเวลาสั้นๆ ร่วมกับการเก็บรักษาในถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีน ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและอายุการวางจำหน่ายถั่วลันเตา

จุฑาทิพย์ โพธิ์อุบล วาริช ศรีละออง และ ศิริชัย กัลยาณรัตน์

บทคัดย่อ การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 5, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร, 28-29 มิถุนายน 2550. 151 หน้า.

2550

บทคัดย่อ

ผลของการให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ความเข้มข้นสูงเป็นระยะเวลาสั้นๆ ร่วมกับการเก็บรักษาในถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีน ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและอายุการวางจำหน่ายถั่วลันเตา

จากการศึกษาการเก็บรักษาถั่วลันเตาในสภาพบรรยากาศที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ความเข้มข้นร้อยละ 40  เป็นเวลานาน 9 ชั่วโมง  ร่วมกับการเก็บรักษาในถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีนเจาะรู (8 18  และ 32 รู)  และไม่เจาะรู  ซึ่งมีความหนา 60 ไมโครเมตร  โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส  พบว่าก๊าซออกซิเจนภายในถุงพลาสติกโพลี  โพรพิลีนเจาะรูเข้าสู่สภาวะสมดุลที่ความเข้มข้นร้อยละ 20.8 และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.23  ในขณะที่ก๊าซออกซิเจนภายในถุงพลาสติกโพรลีโพรพิลีนไม่เจาะรูเข้าสู่สภาวะสมดุลที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.83  และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 21.5  แต่อย่างไรก็ตามสภาพบรรยากาศในการเก็บรักษาที่แตกต่างกันนี้ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการหายใจของถั่วลันเตา ในขณะที่การเพิ่มจำนวนรูที่เจาะมีผลต่ออัตราการสูญเสียน้ำหนักและการเปลี่ยนแปลงความชื้นสัมพัทธ์ภายในถุงพลาสติก โดยพบว่าถั่วลันเตาที่บรรจุในถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีนเจาะรูจำนวน18  และ 32 รู  มีการเหี่ยวเกิดขึ้นและมีอายุการวางจำหน่ายเพียง8 วัน  ในขณะที่ถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีนเจาะรูจำนวน 8 รู  และถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีนไม่เจาะรู  ช่วยลดอัตราการหายใจ  การสูญเสียน้ำหนัก  ชะลอการสูญเสียน้ำตาลของถั่วลันเตา  รวมทั้งช่วยรักษาความชื้นสัมพัทธ์ภายในภาชนะบรรจุ  และทำให้คะแนนการยอมรับโดยรวมของผู้บริโภคที่มีต่อถั่วลันเตาสูงที่สุด  และสามารถยืดอายุการวางจำหน่ายถั่วลันเตาได้นานถึง10 วัน  แต่อย่างไรก็ตามถั่วลันเตาที่บรรจุในถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีนไม่เจาะรู  มีกลิ่นหมักเกิดขึ้นและมีรสชาติที่ผิดปกติ