การทำแห้งชาเขียวใบหม่อนโดยเครื่องทำแห้งแบบใช้ลมร้อนและเครื่องทำแห้งแบบลดความชื้นโดยใช้เครื่องสูบ
เลขา ต่อชีพ สิงหนาท พวงจันทน์แดง และ วรนุช ศรีเจษฎารักข์
บทคัดย่อ การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 5, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร, 28-29 มิถุนายน 2550. 151 หน้า.
2550
บทคัดย่อ
การศึกษาดีซอร์พชั่นไอโซเทอร์มของใบหม่อนที่อุณหภูมิ 20 34.9 และ 49.7 องศาเซลเซียสโดยใช้แบบจำลองในการ ศึกษาคือ Modified Henderson, Modified Oswin, ModifiedChung-Pfost และ Modified Halsey พบว่าแบบจำลอง Modified Henderson ในฟังก์ชั่น Xe = f (RHe, T) และแบบจำลอง Modified Halseyในฟังก์ชั่น RHe = f (Xe, T)สามารถแสดงข้อมูลทำนายดีซอร์พชั่นไอโซเทอร์มของใบหม่อนได้ดีที่สุด การศึกษาแบบจำลองการทำแห้งชาเขียวใบหม่อนด้วยเครื่องทำแห้งแบบใช้ลมร้อนและเครื่องทำแห้งแบบลดความชื้นโดยใช้เครื่องสูบที่อุณหภูมิ 40 50 และ60 องศาเซลเซียส โดยใช้แบบ จำลอง Modified Page, Henderson and Perry, Newtonและ Zero พบว่าแบบจำลอง Modified Page สามารถแสดงข้อมูลการทำนายการทำแห้งชาเขียวใบหม่อนได้ดีที่สุดในเครื่องทำแห้งทั้ง 2 ชนิด และค่าคงที่การแห้ง (K, min-1)ที่ได้จากแบบจำลอง Modified Pageมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิตามแบบจำลองของ Arrhenius และค่าคงที่ n (Drying exponent)มีความ สัมพันธ์กับอุณหภูมิและปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในการทำแห้งแบบเอ็กซ์ โปแนนเชี่ยล เครื่องทำแห้งแบบลดความชื้นโดยใช้เครื่องสูบใช้เวลาสั้นกว่า และมีปริมาณสารรูตินมากกว่าการทำแห้งด้วยเครื่องแบบใช้ลมร้อนซึ่งมีความแตก ต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)