บทคัดย่องานวิจัย

การยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชด้วยสารสกัดจากพืชในสกุล Rutaceae16 ชนิด

เนตรนภิส เขียวขำ Harald Greger และ สมศิริ แสงโชติ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 119-123.

2551

บทคัดย่อ

การยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชด้วยสารสกัดจากพืชในสกุล Rutaceae16 ชนิด

การศึกษาคุณสมบัติการยับยั้งการงอกของสปอร์ของสารสกัดหยาบในส่วนที่เป็น lipophilic ของพืชสกุล Rutaceae โดยการทดสอบสารสกัด Toddalia sp. (ใบ), Limonia acidissima (ใบ), Vepris bilocularis (ใบ), Coleonema pulchellum (ราก), Triphasia trifoliata (ใบ), Pleiospermum alatum (ใบและเปลือกลำต้น), Acronychia pedunculata (ใบ), andAtalantia sp. (ใบ)ยับยั้งการเจริญของเชื้อราCladosporium herbarum  บนแผ่น TLCวิธี bioautography เมื่อทดสอบด้วยวิธี microdilution พบว่าสารสกัดจากใบของ Fortunella hindsii ยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา Botrytis cinerea  ดีที่สุด โดยมีค่า MIC เท่ากับ 312.5 µg/mL  และค่า EC50 of 114 µg/mLส่วนสารสกัดจากใบของ L. acidissimaมีค่า MIC เท่ากับ 1250 µg/mL และมีค่า EC50 เท่ากับ 589 µg/mLพบความแตกต่างระหว่าง ใบGlycosmis mauritiana RUT 213/7และ RUT400  โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 70 µg/mL ในตัวอย่างแรก แต่ในตัวอย่างหลังมีค่าเท่ากับ 1249 µg/mL  สารสกัดจากเปลือกลำต้นของ Pleiospermum alatum  มีค่า EC50 เท่ากับ 262 µg/mL สารสกัดส่วนใบL. acidissima ยับยั้งการงอกของสปอร์ Pestalotiopsis spโดยมีค่า EC50 เท่ากับ 199 µg/mLและสารสกัดจากใบของOrixa sp. มีค่า EC50 เท่ากับ 492 µg/mLโดยมีค่า MICมากกว่า 2500 µg/mL. สารสกัดจากส่วนใบของL. acidissimaยับยั้งการงอกของสปอร์Colletotrichum gloeosporioides โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 366 µg/mL ขณะที่ G. mauritiana (RUT213/7)มีค่า EC50 เท่ากับ 784 µg/mL.