บทคัดย่องานวิจัย

การวิเคราะห์กิจกรรมเอนไซม์ alcohol acyltransferaseของแตงเมลอนพันธุ์ลูกผสมระหว่างการพัฒนาผล

ภูวนาท ฟักเกตุ เฉลิมชัย วงษ์อารี คิน เลย์ คู สมโภชน์ น้อยจินดา และ ศิริชัย กัลยาณรัตน์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 127-130.

2551

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์กิจกรรมเอนไซม์ alcohol acyltransferaseของแตงเมลอนพันธุ์ลูกผสมระหว่างการพัฒนาผล

เอสเทอร์เป็นสารหอมระเหยกลุ่มสำคัญต่อลักษณะปรากฏและคุณลักษณะการบริโภคของผลในพืชตระกูลแตงจากการวิเคราะห์สารหอมระเหยและกิจกรรมของเอนไซม์ alcohol acetyltransferase (AAT) (ซึ่งผลิตสารเอสเทอร์โดยนำ หมู่อะซิทิลมาต่อกับแอลกอฮอล์) จากผลเมลอนพันธุ์ลูกผสม (พันธุ์กุ้ยหลิน) ในระหว่างการพัฒนาของผล โดยกิจกรรมของ เอนไซม์จะตรวจสอบจากสารสกัดจากเนื้อเยื่อ mesocarp ที่เติมแอลกอฮอล์สายตรงหลากหลายชนิดลงไป พบว่าอัลดีไฮด์ และแอลกอฮอล์มีปริมาณมากในผลเมลอนช่วงก่อนถึงระยะบริบูรณ์ที่อายุ 30 และ 35วันหลังผสมเกสร โดยตรวจไม่ พบกิจกรรมของเอนไซม์ AAT ในผลที่อายุ 30 และ 35วันหลังผสมเกสร  แต่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เริ่มสุกแก่ (40-45 วันหลังผสมเกสร) แล้วลดลงอย่างมากในผลที่สุกงอม (50 วันหลังผสมเกสร) การตรวจสอบสารเอสเทอร์จากสารสกัด โดยวิธี head space solid phase microextraction/ gas chromatography/mass spectrometry (HS-SPME/GC/MS) แสดงให้เห็นว่าเอสเทอร์สายตรงคือ hexyl acetate และ butyl acetate และเอสเทอร์ที่เป็นกิ่งก้านคือ 2-methylpropyl acetate และ 2-methylbutyl acetate เป็นเอสเทอร์หลักจากปฏิกิริยา ซึ่งเอสเทอร์สายยาวพบมากในผลที่เริ่มสุกจน ถึงสุกแก่เต็มที่ (40-45วันหลังผสมเกสร) ส่วนเอสเทอร์สายสั้นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นหลังจากระยะนี้ ดังนั้นเอนไซม์ AAT จากการตรวจสอบโดยการใช้สับเสตรทจากภายนอกแสดงถึงการมีกิจกรรมสูงมากในช่วงปลายของการพัฒนาผล