ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแคลเซียมต่อการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลของสับปะรด
อิษยา ภู่สิทธิกุล และ จริงแท้ ศิริพานิช
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 176-179.
2551
บทคัดย่อ
สับปะรดเป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่มักพบอาการสะท้านหนาวหรือไส้สีน้ำตาล (Internal browning)ในระหว่างการเก็บรักษาและการส่งออก การศึกษาในต่างประเทศพบว่าปริมาณแคลเซียมมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับอาการ สะท้านหนาวแต่มีการศึกษาไม่มากนักในประเทศไทย การทดลองครั้งนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแคลเซียมกับอาการไส้สี น้ำตาลในผลสับปะรดกลุ่มพันธุ์ Queen และกลุ่มพันธุ์ Smooth cayenne จากจังหวัดเชียงราย ระยอง ตราด และนครปฐม เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 21 วัน วิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมทั้งหมดในส่วนเนื้อและแกนผล พบว่า สับปะรดกลุ่มพันธุ์ Queen มีปริมาณแคลเซียมทั้งหมดมากกว่ากลุ่มพันธุ์ Smooth cayenne แต่ไม่แตกต่างทางสถิติ ซึ่งไม่สอดคล้องกับอาการไส้สีน้ำตาลซึ่งพบมากในกลุ่มพันธุ์ Queenแต่เมื่อเปรียบเทียบในพันธุ์เดียวกัน พบว่า ปริมาณแคลเซียมทั้งหมดในส่วนเนื้อ ผกผันกับอาการไส้สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับที่มีรายงานในต่างประเทศ อาจกล่าวได้ว่าปริมาณแคลเซียมเป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลของ สับปะรดเท่านั้น และอาจใช้เป็นเกณฑ์ในการทำนายอาการไส้สีน้ำตาลได้ตั้งแต่เก็บเกี่ยว