ผลของไคโตซานต่อการสร้างสารต้านเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ในผลมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์
ปัญชลี เขียวขจี และอุราภรณ์ สอาดสุด
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 245-248.
2551
บทคัดย่อ
จากการศึกษาผลของไคโตซานจากเห็ดหอมผสมกับไคโตซานทางการค้าต่อการสร้างสารต้านเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioedes ในผลมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ 4ช่วงอายุคือ 90, 100, 110, และ 120 วัน โดยการเคลือบผิวมะม่วงบนต้นด้วยไคโคซานจากเห็ดหอม 0.10% ร่วมกับไคโตซาน 0.50, 0.75 และ 1.00% ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน แล้วเก็บมาวิเคราะห์ในห้องทดลอง นำเปลือกมะม่วงมาสกัดสารและนำสารสกัดไปทดลองบนแผ่น TLC พบว่าสารสกัดจากเปลือกมะม่วงที่ผ่านการเคลือบผิวด้วยไคโตซานจากเห็ดหอม 0.10% ร่วมกับไคโตซาน 1.00% สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดีกว่าชุดทดลองอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารยับยั้งการเจริญในมะม่วง 4 ช่วงอายุ พบว่าชุดทดลองดังกล่าวมีปริมาณสารยับยั้งการเจริญต่อน้ำหนักเปลือกสดมากที่สุดในทุกช่วงอายุ และเมื่อนำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์ทางสเปกโตรสโคปีและโครมาโตรกราฟี พบว่าสารสกัดที่ได้คือ di - 2 - ethylhexyl phthalate