บทคัดย่องานวิจัย

ผลของบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพและอายุเก็บรักษามะม่วง

วิชชา สอาดสุด พิเชษฐ์ น้อยมณี สุรีนาฎ กิจบุญชู และปิยวรรณ ขวัญมงคล

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 265-268.

2551

บทคัดย่อ

ผลของบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพและอายุเก็บรักษามะม่วง

การพัฒนากระบวนการเทคนิคหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงเพื่อการส่งออก ทำการศึกษาในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ที่ระยะเก็บเกี่ยว 110 วันหลังดอกบานเต็มมาที่ผ่านการรมด้วยสาร 1 –MCP ความเข้มข้น 1,000 ppmที่ 20 °Cนาน 14 ชั่วโมง แล้วบรรจุมะม่วงในบรรจุภัณฑ์ Active Model 2 และชุดควบคุม (ไม่ใช้บรรจุภัณฑ์) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 °C เป็นเวลา 35 วัน แล้วนำมาจุ่มในน้ำอุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 20 นาที พบว่า มะม่วงในชุดควบคุมแสดงอาการสะท้านหนาวที่ระยะเวลาเก็บรักษา 20 วัน มีความแน่นเนื้อเท่ากับ 9,070 g/mm สำหรับมะม่วงที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิด แสดงอาการสะท้านหนาวที่ระยะเวลาเก็บรักษา 35 วัน มีความแน่นเนื้อ เท่ากับ 10,720 11,086 และ 11,296 g/mm ตามลำดับ ภายหลังการบ่มสุกความแน่นเนื้อลดลงเท่ากับ 2,502 4,871 2,220 และ 2,376ตามลำดับ จากการวัดค่า SSC/TA ของมะม่วงสุก พบว่า มะม่วงที่เก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์ชนิด Active M4 มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 72.85 รองลงมาได้แก่ชุดควบคุม Active M2 และLLDPE ตามลำดับ มีค่าเท่ากับ 65.3 45.75 และ 15.19ค่าการวัดสีของชุดควบคุมและบรรจุภัณฑ์ชนิด Active ไม่แตกต่างกัน ซึ่งแตกต่างจากมะม่วงที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ชนิด LLDPE สีผิวของมะม่วงจะมีสีคล้ำและมีการหมักเกิดขึ้นด้วย ดังนั้น จะเห็นว่าการเก็บรักษามะม่วงเป็นระยะเวลา 35 วัน สามารถทำได้โดยบรรจุในบรรจุภัณฑ์ชนิด Active เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 °C แล้วนำมาจุ่มในน้ำอุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 20 นาที