บทคัดย่องานวิจัย

ผลของระยะการเจริญเติบโตต่อปริมาณสารพฤกษเคมีคุณสมบัติการต้านออกซิเดชัน และการต้านจุลินทรีย์ของเปลือกมะม่วงสายพันธุ์มหาชนก

พงศธร ล้อสุวรรณ จิตศิริ ราชตนะพันธุ์ และศศิธร ตรงจิตภักดี

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 279-282.

2551

บทคัดย่อ

ผลของระยะการเจริญเติบโตต่อปริมาณสารพฤกษเคมีคุณสมบัติการต้านออกซิเดชัน และการต้านจุลินทรีย์ของเปลือกมะม่วงสายพันธุ์มหาชนก

จากการศึกษาสมบัติการต้านออกซิเดชันด้วยโดยการตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สมบัติการต้านอนุมูลอิสระ2, 2-Diphenly-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ 2, 2’–azobis (3-ethylbenzthiazoline-6-sulfonic acid) diammonium salt(ABTS)ของเปลือกมะม่วงสายพันธุ์มหาชนกซึ่งเก็บเกี่ยวที่ 49 77 100 และ 120 วันพบว่า เปลือกมะม่วงสายพันธุ์มหาชนกอายุ 49 วัน มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด (107.6+2.8 mg gallic equivalence/g dry weight)และยังมีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTSสูงสุดเช่นกัน (332.9+17.1 and 308.5+8.6 mg ascorbic acid/g dry weight) ในขณะที่เปลือกมะม่วงสายพันธุ์มหาชนกอายุ 120 วัน มีปริมาณสารประกอบแครอทีนอยด์ทั้งหมด (618.8+7.8 mg/g dry weight )บีตาแครอทีน (2462.0+238.0 mg/g dry weight)และสารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (1081.7+8.3 mg catechin/100g dry weight) สูงสุด นอกจากนั้นยังพบว่าเปลือกมะม่วงสายพันธุ์มหาชนกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ B. cereus และ L. monocytogenese(แบคทีเรียแกรมบวก)และพบว่าเปลือกมะม่วงสายพันธุ์มหาชนกที่มีอายุ 49 และ 77 วันเท่านั้นที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของ S.Typhimurium สายพันธุ์ 2486 ได้ ค่า Minimum inhibitory concentration (MIC) แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียL. monocytogenese สายพันธุ์ 101 และ 108มีความไวต่อสารสกัดจากเปลือกมะม่วงสายพันธุ์มหาชนกมากกว่าสายพันธุ์ 130 V7 และ Scott A