บทคัดย่องานวิจัย

ผลของอุณหภูมิต่ำต่อเลนติเซลของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

เสาวนีย์ แก้วพระเวช วิชชา สอาดสุด และ ปริญญา จันทรศรี

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 307-310.

2551

บทคัดย่อ

ผลของอุณหภูมิต่ำต่อเลนติเซลของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

จากการศึกษาลักษณะและพัฒนาการของเลนติเซลบนผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ในช่วงการเจริญของผลระยะต่างๆ พบว่าสามารถจำแนกขนาดของเลนติเซลออกเป็นระยะต่างๆ ได้ทั้งหมด 4ระยะ ได้แก่ ระยะ 0, 1, 2 และ 3ซึ่งมีขนาดเท่ากับ 0.03, 0.13, 0.20และ 0.28มิลลิเมตร ตามลำดับ และพบว่าผลมะม่วงที่อายุ 50วัน มีความหนาแน่นของเลนติเซลรวมสูงสุด ในขณะที่ผลมะม่วงอายุ 110วัน มีความหนาแน่นของเลนติเซลรวมน้อยที่สุด และพบเลนติเซลระยะ 0 มากที่สุดในทุกช่วงการเจริญของผล แต่จะลดลงเมื่อผลมะม่วงมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ได้นำผลมะม่วงมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่างๆ ได้แก่ 5, 8 และ 13องศาเซลเซียส พบว่าผลมะม่วงที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5องศาเซลเซียส เป็นเวลา 21วัน มีค่าความหนาแน่นของเลนติเซลรวมสูงสุด รองลงมาคือที่ 8และ 13องศาเซลเซียส ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของผิวผลมะม่วงที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5องศาเซลเซียส คือเลนติเซลปรากฏเด่นชัดมากขึ้นและมีสีเปลือกเปลี่ยนไป ซึ่งสอดคล้องกับค่าความหนาแน่นที่นับได้ข้างต้นและพบเลนติเซลระยะ 3 ที่ผิวผลมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับผลมะม่วงที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 และ 13องศาเซลเซียส