บทคัดย่องานวิจัย

แอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้พันธุ์แท้ 3 สายพันธุ์ในเผ่า VANDEAE Lindley

นิตยา จันกา เฉลิมชัย วงษ์อารี และศิริชัย กัลยาณรัตน์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 339-342.

2551

บทคัดย่อ

แอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้พันธุ์แท้ 3 สายพันธุ์ในเผ่า VANDEAE Lindley

กล้วยไม้ในเผ่า VANDEAE Lindley  มีความหลากหลายทางพันธุกรรม  จึงทำให้มีความแตกต่างกันของสายพันธุ์ ทั้งในด้านรูปทรงดอก  สี  และกลิ่น  ความหลากหลายในด้านสีของดอกกล้วยไม้เกิด เนื่องจากมีการสะสมรงวัตถุ และ/หรือ มีรูปแบบการสะสมรงวัตถุที่แตกต่างกัน       ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาชนิดและรูปแบบการสะสมแอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้ พันธุ์แท้ในเผ่า  VANDEAEจำนวน 3สายพันธุ์ ที่มีสีของกลีบดอกแตกต่างกัน คือพันธุ์กุหลาบมาลัยแดง (Aeridesmultiflora Roxb.)มีกลีบดอกอยู่ในช่วงสีแดง  ไอยเรศ (Rhynchostylis retusa (L.) Blume)มีกลีบดอกอยู่ในช่วงสีแดง-ม่วง   และฟ้ามุ่ย (Vanda  coerulea Griff. ex Lindl.)ซึ่งกลีบดอกมีสีฟ้าอ่อน  โดยฟ้ามุ่ยมีปริมาณแอนโทไซยานินมากที่สุดเท่ากับ 6.47 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด รองลงมาได้แก่ กุหลาบมาลัยแดงเท่ากับ 2.45 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนไอยเรศมีน้อยที่สุดเท่ากับ 0.83 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด และเมื่อทำการเปรียบเทียบกับรูปแบบ สารแอนโทไซยานิดินที่แยกได้จากเครื่องHPLC ระหว่างดอกกล้วยไม้กับสารสกัดจากพืชอ้างอิงที่มีรายงานมาแล้วได้แก่ องุ่นดำ สตรอเบอรี่  ดอกอัญชัญ และกะหล่ำปลีสีม่วง    พบว่าดอกกล้วยไม้ที่มีกลีบดอกอยู่ในโทนสีแดงส่วนใหญ่ประกอบ ด้วยอนุพันธ์ของแอนโทไซยานิดินชนิดไซยานินเป็นหลัก  ซึ่งดอกไอยเรศประกอบด้วยแอนโทไซยานินที่มาจากไซยานิดิน  อย่างไรก็ตามกุหลาบมาลัยแดงซึ่งมีสีแดงเช่นกันกับไอยเรศ มีแอนโทไซยานินชนิดไซยานิดินร้อยละ 96.13และพีลาร์โกนิดิน ร้อยละ 3.87  ส่วนฟ้ามุ่ยซึ่งมีดอกสีฟ้าอ่อนพบ แอนโทไซยานิดินอยู่ 2ชนิด   คือไซยานิดินร้อยละ 52.43  และเดลฟินิดินร้อยละ 47.57