ผลของแรงกระแทกที่มีผลต่อความเสียหายของเมล็ดข้าวเปลือก
อนุวัตร ศรีนวล สัมพันธ์ ไชยเทพ และ วิบูลย์ ช่างเรือ
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). 2551. หน้า 413-416.
2551
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ หาแรงกระแทกที่ทำให้เมล็ดข้าวเสียหาย โดยใช้เครื่องทดสอบแบบ Drop Weight โดยให้หัวกระแทกจะตกลงบนเมล็ดข้าวที่วางบนโหลดเซล แรงดันไฟฟ้าที่ได้จากโหลดเซล จะนำไปหาความสัมพันธ์กับแรงกระแทก(F) F=0.0491E–0.7091 ในช่วงของการทดลอง 20 –80 มิลลิเมตร พันธุ์ข้าวที่ใช้ในการทดลองมีพันธุ์ กข6 และ ขาม เหนี่ย ข้าวจะถูกอบที่ความร้อน 50oC เป็นเวลา 24 ชั่วโมงและจะวางข้าวในแนวนอนและแนวตั้ง ผลการทดลอง การวางเมล็ดข้าวในแนวนอน เมล็ดข้าวพันธุ์ กข6 ใช้แรงที่ทำให้เมล็ดข้าวเริ่มมีรอยร้าว แตกเป็นสองส่วน แตกเป็นสามส่วนและแตกปะลัย ที่ 2.324 N,2.992 N,3.406 N และ 3.738 N ตามลำดับ สำหรับพันธุ์ขามเหนี่ย ที่ 1.642 N,2.276 N, 2.775 Nและ3.13 Nตามลำดับ สำหรับการวางเมล็ดข้าวในแนวตั้ง เมล็ดข้าวพันธุ์ กข6 เมล็ดเริ่มมีรอยร้าว แตกเป็นสองส่วน แตกเป็นสามส่วน แตกปะลัย ใช้แรง 2.314 N, 3.265 N, 3.624 N, 3.888 N, ตามลำดับ สำหรับพันธุ์ขามเหนี่ย ใช้แรง 1.738 N,2.350 N,2.722 N, 3.134 N ตามลำดับ