บทคัดย่องานวิจัย

การใช้สารฆ่าเชื้อชนิดต่างๆ ในการลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ของเปลือกและเนื้อลำไยพันธุ์ดอ

ดนุนุช บุนนาค นิธิยา รัตนาปนนท์ และ เมธินี เห่วซึ่งเจริญ

บทคัดย่อ การสัมมนาวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 6, โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส จังหวัดขอนแก่น, 14-15 สิงหาคม 2551. 182 หน้า.

2551

บทคัดย่อ

การใช้สารฆ่าเชื้อชนิดต่างๆ ในการลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ของเปลือกและเนื้อลำไยพันธุ์ดอ

ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารฆ่าจุลินทรีย์2 ชนิด คือ สารละลายกรดเพอร์ออกซีแอซีติก (PAA; 100 และ 50 ส่วนต่อล้านส่วน) และสารละลายโซเดียมไฮโพคลอไรต์ (NaOCl; 200 และ 50 ส่วนต่อล้านส่วน) ในการลดจำนวนจุลินทรีย์ของเปลือกและเนื้อลำไยพันธุ์ดอ ตามลำดับ เพื่อใช้สำหรับการทำเนื้อลำไยสดพร้อมบริโภค โดยนำผลลำไยมาแช่ในสารฆ่าจุลินทรีย์ หรือ น้ำประปาเป็นเวลา 3 นาที หลังจากนั้นคว้านเมล็ด แกะเปลือก และนำเนื้อลำไยมาแช่ในสารฆ่าจุลินทรีย์อีกครั้งเป็นเวลา 3 นาที ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำตัวอย่างมาตรวจสอบจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด และยีสต์-รา ผลการทดลองพบว่า ผลลำไยที่แช่ในสารละลาย PAA 100 ส่วนต่อล้านส่วน สามารถลดจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดบนเปลือกและเนื้อลำไยได้ 2.29 log cfu/g ของผลลำไย และ 0.65 log cfu/g และลดจำนวนยีสต์-รา ลงได้ 2.06 log cfu/g ของผลลำไย และ 0.62 log cfu/g ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับผลลำไยที่ไม่ได้ล้าง