การวิเคราะห์ข้อมูล NIR ด้วยวิธี PLSRในการทำนายค่า Brix และ Acid ของผลแก้วมังกร
อาทิตย์ พวงสมบัติ, ศิวลักษณ์ ปฐวีรัตน์, อนุพันธ์ เทอดวงศ์วรกุล, วารุณี ธนะแพสย์ และ ศุมาพร เกษมสำราญ
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตร แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2550,โรงแรมโซฟิเทล ราชาออร์คิด จ.ขอนแก่น,22-24 มกราคม 2550. 204 หน้า.
2550
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา ความเป็นไปได้ในการตรวจสอบปริมาณของแข็งที่ละลายได้ และปริมาณกรดทั้งหมดของผลแก้วมังกรโดยเทคนิค Near Infrared Spectroscopy ตัวอย่างที่ใช้คือแก้งมังกรพันธุ์ เบอร์ 100สแกนตัวอย่างด้วยเครื่อง Near Infrared Spectroscopy ใช้ช่วงความยาวคลื่น 1100 – 2500 นาโนเมตร แล้วหาปริมาณของแข็งที่ละลายได้ และปริมาณกรด วิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ โดยวิธี Partial Least Square Regression (PLSR) โดยเน้นการเลือกช่วงความยาวคลื่นด้วย วิธีต่างๆ เพื่อสร้างสมการตามวิธี PLSR ให้มีความแม่นยำมาก ขึ้น นอกจากนี้ หลังจากลดอิทธิพลเปลือกโดยการหารค่าดูดกลืนแสงปกติทั้งหมด ด้วยค่าดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 1876 nm ที่มีความแม่นยำในการทำนายดีที่สุด เปรียบเทียบกับความแม่นยำในการใช้สเปกตรัมทั้งช่วงความยาวคลื่น พบว่า ค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ และค่าปริมาณกรดมีผลไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามค่า Bias ในการทำนายค่าปริมาณกรดจะลดลงอย่างมาก ส่วนศึกษาเกี่ยวกับอายุวันการเก็บรักษา ค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ และค่าปริมาณกรดก็มีผลไม่แตกต่างกัน