บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วไร้ค้าง มข. 25

บุญมี ศิริ, นิตยา นาคพุ่ม, พิศาล ศิริธร และภาณี ทองพำนัก

การสัมมนาวิชาการเกษตรแห่งชาติประจำปี 2547, ณ ห้องประชุมกวี จุติกุล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 573 หน้า.

2547

บทคัดย่อ

ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วไร้ค้าง มข. 25

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราและอายุในการเก็บ รักษาในภาชนะบรรจุแตกต่างกันต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวไร้ค้าง มข. 25ได้ดำเนินการโดยการเคลือบถั่วฝักยาวไร้ค้าง มข. 25ด้วยสารเคลือบแตกต่างกัน 4 ชนิด คือ เมล็ดเคลือบสี, เมล็ดเคลือบ captan (1.5 a.i) อัตรา 3กรัมต่อเมล็ด 1กิโลกรัม, เมล็ดเคลือบ carboxin (2.25 a.i)อัตรา 3กรัมต่อเมล็ด 1กิโลกรัมเมล็ดเคลือบ captan+ carboxin (0.75+1.125 a.i) อัตรา 1.5+1.5 กรัมต่อเมล็ด 1กิโลกรัมและเมล็ดไม่เคลือบสาร จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์มาตรวจสอบคุณภาพโดยวิธีการเร่งอายุโดยใช้อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพันธ์ 100เปอร์เซ็นต์ สุ่มตัวอย่าง 2 4 และ 6วัน ผลการทดลองพบว่าการเคลือบเมล็ดทำให้ความชื้นของเมล็ดลดลง แต่ไม่ทำให้คุณภาพในลักษณะความงอก ความเร็วในการงอก ความยาวรากและน้ำหนักต้นกล้าลดลง เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ไปเร่งอายุเป็นเวลา 6วัน พบว่าเมล็ดที่เคลือบสารป้องกันกำจัดเชื้อรามีความงอกมากกว่าเมล็ดที่ไม่เคลือบสาร เมล็ดที่เคลือบ captanและ captan+ carboxinปราศจากการทำลายของเชื้อรา Aspergillusflavus  และ Aspergillusniger ส่วนเมล็ดที่เคลือบ carboxinและ captan+ carboxinสามารถป้องกันการทำลายของโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อ Sclerotiumrolfsii ในระยะต้นกล้าได้