การเปลี่ยนแอคติวิตีของเอนไซม์ PAL และการกระจายตัวของแอนโทไซยานินในเปลือกผลของมะม่วงพันธุ์มหาชนกระหว่างการเจริญเติบโต
กัญญารัตน์ เหลืองประเสริฐ, จำนง อุทัยบุตร และกอบเกียรติ แสงนิล
เอกสารประกอบการประชุม วันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 ‘วิธีวิจัย: สู่สังคมร่มรื่นและเป็นสุข’, วันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.496 หน้า.
2550
บทคัดย่อ
จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงแอคติวิตีของเอนไซม์ PAL ของเปลือกผลมะม่วงพันธุ์มหาชนกที่มีอายุ 70-126 วัน ภายหลังดอกบานในชุดที่ผลได้รับแสงโดยตรง ชุดที่ถูกบังแสง และชุดที่ได้รับการห่อผล พบว่าแอคติวิตีของเอนไซม์ PAL ในส่วนของเปลือกผลชุดที่ได้รับแสงโดยตรงมีค่าเพิ่มสูงขึ้นและสูงสุดเมื่อผลมีอายุ 112 วันภายหลังดอกบาน ในขณะที่แอคติวิตีของเอนไซม์ PAL ในส่วนของเปลือกผลชุดที่ถูกบังแสงและชุดที่ได้รับการห่อผลมีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแอนโทไซยานินที่พบในเปลือกผลมะม่วงทั้ง 3 ชุด และพบว่าเปลือกผลชุดที่ได้รับแสงโดยตรงมีค่าสีแดง (a* value)ของเปลือกผลมากกว่าของเปลือกผลชุดที่ถูกบังแสงและชุดที่ได้รับการห่อผล และเมื่อศึกษากายวิภาคของเปลือกผลพบการกระจายตัวของรงควัตถุแอนโทไซยานินในเซลล์ของเปลือกผลชุดที่ได้รับ แสงโดยตรงเมื่อผลอายุ 84 วันภายหลังดอกบานโดยพบในเซลล์ชั้นใต้ epidermis โดยพบว่ามีการสะสมแอนโทไซยานินเพิ่มขึ้นและสูงสุดเมื่อผลอายุ 112 วันภายหลังดอกบาน โดยวัดความกว้างของชั้นเซลล์ที่มีแอนโทไซยานินได้ประมาณ 50 µm ในขณะที่ส่วนของเปลือกชุดที่ถูกบังแสงและชุดที่ได้รับการห่อผลไม่พบเซลล์ที่มีการสะสมของแอนโทไซยานิน ภายในเซลล์ตลอดการทดลอง