การตอบสนองของดอกบังมังคลอุบลที่ปักในสารละลายเอทิฟอน
ภรณ์พรรณ เอี่ยมทิม ณ นพชัย ชาญศิลป์ ภูรินทร์ อัครกุลธร มัณฑนา บัวหนอง และ เฉลิมชัย วงษ์อารี
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 (พิเศษ) หน้า 273-276.2552.
2552
บทคัดย่อ
มังคลอุบล (Nymphaea‘Mangkala-Ubon’) เป็นบัวฝรั่งที่ดอกจะบานในตอนสายและดอกหุบในช่วงบ่ายของวัน ซึ่งปกติดอกมีอายุประมาณ 3 วัน การปักแจกันดอกบัวมังคลอุบลในสารละลายเอทิฟอนความเข้มข้นต่างๆ ชักนำให้ดอกบัวมังคลอุบลเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ดอกที่ปักสารละลายเอทิฟอนความเข้มข้นสูงกว่า 500 ppmมีอายุการใช้งานเพียง 1 วัน มีการเปลี่ยนแปลงของสีกลีบดอกเร็วขึ้น โดยสีของกลีบดอกเปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองอ่อนซึ่งสัมพัทธ์กับค่า b Hunter scales และค่า hue angles ที่ลดลง กลีบดอกนอกเป็นสีเขียวอมน้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มและแห้ง โดยมีน้ำหนักสดลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ดอกยังบิดม้วนทำให้ดอกไม่สามารถตั้งอยู่ในแนวตรงได้ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสนใจว่า ดอกบัวมังคลอุบลที่ปักในเอทิฟอนความเข้มข้น 500 และ 1000 ppm มีอัตราการหายใจและผลิตเอทิลีนที่ต่ำกว่าชุดที่ปักในน้ำกลั่น(ชุดควบคุม)