การจำแนกกลุ่มของผลมะพร้าวอ่อนที่สัมพันธ์กับระยะการเจริญเติบโต
วีรกุล มีกลางแสง อนุพันธ์ เทอดวงศ์วรกุล และ บัณฑิต จริโมภาส
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9ประจำปี 2551,โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จ.เชียงใหม่,31 มกราคม –1 กุมภาพันธ์ 2551. 203 หน้า.
2551
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อจำแนกคุณภาพของผลมะพร้าวอ่อนที่สัมพันธ์กับระยะการเจริญเติบโต ปกติมะพร้าวอ่อนมีความอ่อนแก่ แบ่ง เป็น 3 กลุ่มคือ เนื้อหนึ่ง เนื้อหนึ่งครึ่ง เนื้อสอง เนื่องจากผลมะพร้าวอ่อนที่มีวัยหรือ ความแก่ที่เหมาะสมย่อมทำให้ได้ผลที่ มีคุณภาพดี สัมพันธ์โดยตรงต่อคุณภาพในการรับประทานสด และการส่งออก ผลมะพร้าวอ่อนที่มีคุณภาพดี อยู่ในช่วงอายุเนื้อ ชั้นครึ่งถึงสองชั้น ซึ่งเนื้อและน้ำจะมีกลิ่นหอม รสหวานกลมกล่อม และเนื้อนุ่ม การจำแนกกลุ่มประกอบด้วยการทดสอบหาตัว แปรจำแนกกลุ่มคือ ระยะการเจริญเติบโตและตัวแปรอิสระ ได้แก่ ความถี่ธรรมชาติ (fn), โมดูลัสเซ็กแก็นของกะลา, (SMs) ปริมาณความหวาน (TSS), ปริมาณกรด, ความหนาเนื้อ (T) และ ความถ่วงจำเพาะ (SG) นำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Discriminant analysis และสร้างสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจำแนกกลุ่มให้กับตัวแปรอิสระ ผลการทดสอบปรากฏว่าตัวแปร อิสระที่นำมาสร้างสมการในการจำแนกกลุ่มคือ T, fn, SMS, TSS ความถูกต้องของการจำแนกกลุ่มเป็น 95.7%