บทคัดย่องานวิจัย

ผลของเอทธานอลและอะซีตัลตีไฮต์ ต่อการควบคุมโรคเน่าราสีเขียว และคุณภาพของผลส้มเขียวหวาน

นายกฤษฎา บุตรพลอย

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2545. 114 หน้า.

2545

บทคัดย่อ

ผลของเอทธานอลและอะซีตัลตีไฮต์ ต่อการควบคุมโรคเน่าราสีเขียว และคุณภาพของผลส้มเขียวหวาน

การศึกษาผลของเอทธานอล และอะซีตัลดีไฮด์ต่อการควบคุมโรคเน่าราสีเขียว และคุณภาพของผลส้มเขียวหวาน ดำเนินการโดยนำผลส้มแช่ในเอทธานอลที่ความเข้มข้น 10 20 40 และ 70เปอร์เซ็นต์ และแช่ในอะซีตัลดีไฮด์ ที่ความเข้มข้น 0.5 1.0 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 37องศาเซลเซียส นาน 120 151 และ 180 วินาทีพบว่าความเข้มข้น และระยะเวลาในการแช่มีผลต่อการควบคุมโรค และความผิดปกติของผลส้ม โดยความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดคือ แช่ในเอทธานอลที่ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ นาน 180 วินาที และแช่ในอะซีตัลดีไฮค์ที่ความเข้มข้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ นาน 180 วินาที ซึ่งมีประสิทธิภาพในการชะลอการเข้าทำลายของเชื้อราได้นานที่สุดคือ 2.25 วัน และ 1.56 วัน ตามลาดับ โดยผลส้มไม่แสดงอาการผิดปกติ การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของผลส้ม แสดงว่าการแช่ผลส้มเขียวหวานในเอทธานอล และอะซีตัลดีไฮด์ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณกรดแอสคอร์บิก ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ แต่มีผลต่อการเปลียนสีผิวของผลส้ม หลังการใช้สารแช่ผลส้มพบว่าปริมาณสารเอทธานอล และอะซีตัลดีไฮด์ในผลส้มเท่ากับ 582.48 มก/ลิตร และ 4.68 มก/ลิตร ตามลำดับ

การศึกษาผลของการใช้เอทธานอล และอะซีตัลคีไฮค์ควบคุมโรค โดยวิธีการรมด้วยไอระเหยของสาร ผลการทดลองแสดงว่าความเข้มข้นของ เอทธานอล และระยะเวลาการรมที่ต่างกันมีผลต่อการควบคุมโรคเน่าราสีเขียว และความผิดปกติบนผลส้ม เอทธานอลสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Penicillium sp. ได้ โดยไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับผลส้ม การรมด้วยไอระเหยของเอทธานอล ที่ความเข้มข้น 0.05 เปอร์เซ็นต์ นาน 3 วัน สามารถชะลอการเกิดโรคได้นาน 4.25 วัน ในขณะที่รมด้วยไอระเหยของอะซีตัลดีไฮค์ สามารถชะลอการเกิดโรคได้นาน 2.63 วัน เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของผลส้มแสดงว่า เอทธานอล และอะซีตัลดีไฮด์ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณกรดแอสคอร์บิค ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และปริมาณกรดที่ไตเตรทไค้ แตมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีผิวของผลส้ม หลังการรมด้วยเอทธานอล และอะซีตัลดีไฮด์แล้ว ผลส้มมีปริมาณเอทธานอล และอะซีตัลดีไฮค์ 962.38 มก/ลิตร และ 12.73 มก/ลิตร ตามลำดับ