บทคัดย่องานวิจัย

ผลของโอโซนต่ออายุการเก็บรักษาลำไย

สิคีริยา เรืองยุทธิการณ์

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2545. 176 หน้า.

2545

บทคัดย่อ

ผลของโอโซนต่ออายุการเก็บรักษาลำไย

การศึกษาผลของโอโซนต่ออายุการเก็บรักษาลำไยพันธุ์ดอ โดยนำผลลำไยลงแช่ในน้ำเย็นที่0 °ซ ปรับค่าความเป็นกรคเป็นด่างด้วยกรดแลกติก ให้มีค่าเท่ากับ 3-4 หลังจากนั้นปล่อยก๊าซโอโซนระดับความเข้มข้น 100 มก./ชม. ให้ไหลลงไปในน้ำ เป็นเวลา 0, 30, 60 และ 90 นาทีตามลำดับ แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 °ซ พบว่า ผลลำไยที่ผ่านการรมก๊าซโอโซน สามารถเก็บรักษาได้นานกว่าผลลำไยทึ่ไม่ได้รมก๊าซโอโซน 6-9 วัน และผลลำไยที่ผ่านการรมก๊าซโอโซนนาน 30นาที สีเปลือกมีความสว่าง และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโกคมากที่สุด โดยการนำผลลำไยลงแช่ในสารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ร่วม/ไม่ร่วมกับการปล่อยก๊าซโอโซนความเข้มข้นที่ 100 มก./ ชม. จากนั้นนำผลลำไยลงแช่ในน้ำเย็น ที่ร่วม/ไม่ร่วมกับการปล่อยก๊าซโอโซนความเข้มข้นเดิม นาน 60 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 °ซ พบว่าในทุกกรรมวิธี สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลา 9 วัน แต่ผลลำไยที่ผ่านการแช่สารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับการรมก๊าซโอโซน มีสีเปลือกที่สว่างมากกว่าและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากกว่า สำหรับการแช่ผลลำไยในสารละลายโปแทสเซียมเปอร์แแมงกาเนตความเข้มข้นที่ 0, 1, 10 และ 100 สตล ร่วม/ไม่รวมกับการรมด้วยก๊าซโอโซนความเข้มข้นที l00 มก/ชม. นาน 10 นาที พบว่า สารละลายโปแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณกาพ และอายุการเก็บรักษาผลลำไยพันธุ์ดอ โดยสามารถเก็บรักษาไว้นาน 21วัน การแช่ผลลำไยในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วม/ไมร่วมกับการรมก๊าซโอโซนโดยนำผลลำไยลงแช่ในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้นที่ 0, 1,000 3,000 และ 5,000 สตล ร่วม/ไมร่วมกับการรมก๊าซไอโซนความเข้นข้นที่ l00 มก/ชม. นาน 10 นาที พบว่าผลลำไยในทุกกรรมวิธีสามารถเก็บรักษาผลลำไยได้นาน 9 วัน โดยการแช่สารละลายโซ่เดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับการรมก๊าซโอโซน ทำให้สีเปลือกของผลลำไยมีความสว่างมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโถ คมากกว่า

ส่วนการทำ microtome section ของเปลือกลำไย พบว่า ในผลลำไยที่ไม่ได้ผ่านการรมก๊าซโอโซน (ชุดควบคุม) เซลล์ผิวเปลือกมีสภาพสมบูรณ์มากที่สุค รองลงมาได้แก่ ผลลำไยที่ผ่านการรมก๊าซโอโซนเป็นเวลา 30 และ 60 นาที ตามลำดับ ในขณะที่ผลลำไยที่ผ่านการรมก๊าซโอโซนเป็นเวลา 90นาที พบว่าเซลล์มีลักษณะยุบมากที่สุด