บทคัดย่องานวิจัย

ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกผลผลิตลำไยสดของภาคเหนือของประเทศไทย

อารณี อินต๊ะไพร

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2546 .171 หน้า.

2546

บทคัดย่อ

ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกผลผลิตลำไยสดของภาคเหนือของประเทศไทย

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์3 ประการคือ 1) เพื่อทราบต้นทุนการผลิต ปริมาณผลผลิต รายรับ และต้นทุนการตลาดลำไยของภาคเหนือ 2) เพื่อทราบต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศและอัตราส่วนต้นทุนผู้ผลิตในการส่งออกลำไยของภาคเหนือและประเทศคู่แข่ง 3)เพื่อทราบผลกระทบของปัจจัยสำคัญที่มีต่อความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการส่งออกลำไยสดของภาคเหนือ วิธีการศึกษาได้รวบรวมข้ลมูลปฐมภูมิด้านต้นทุนการผลิตลำไยของเกษตรกรในภาคเหนือจำแนกตามสวนช่วงอายุต่างๆ ตลอด 25 ปีรวม 75 สวน ต้นทุนการตลาตของพ่อค้าระดับต่างๆรวม 23 ราย และยังรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิด้านปริมาณผลผลิตลำไย ปริมาณการส่งออกลำไย อัตราดอกเบี้ย อัตราภาษีนำเข้าปัจจัยการผลิตและผลผลิตลำไยสค อัตราแลกเปลี่บน ตารางปัจจัยการผลิตผลผลิตจากหน่วยงานราชการต่างๆ ได้แก่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัคเชียงใหม่และลำพูน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลด้านค่าจ้างแรงงาน ราคาลำไยสด ราคานำเข้าลำไยสด อัตราภาษีนำเข้าผลผลิตลำไยสด และอัตราแลกเปลี่ยนของสาธารณรัฐประชาชนจีนจากสถานกงสุลไทยในนครคุนหมิง กวางโจว และเซี่ยงไฮ้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เพื่อประกอบการศึกษาอีกส่วนหนึ่งด้วยข้อมูลที่รวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดย ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์นโยบายแบบเมตริกซ์

ผลการศึกษาด้านต้นทุนการผลิตลำไยสดของเกษตรกรชาวสวนโดยใช้พื้นฐานของข้อมูลปีเพาะปลูก2544/45 พบว่าโดยเฉลี่ยเกษตรกรชาวสวนต้องลงทุนเริ่มแรกในการสร้างสวนเท่ากับ

2,450 บาท/ไร่ ในช่วงอายุ 1-4 5-10 11-15 16-20 และ 21-25 ปีจะเสียต้นทุนการผลิตรายปี เท่ากับ5,990 8,187 8,447 8,747 และ 10,017บาท/ไร่ ตามลำดับ ชาวสวนลำไยสามารถผลิตลำไยได้โดยเฉลี่ยเท่ากันตลอดอายุสวน 25 ปีเท่ากับ 1,461 กิโลกรัม/ปีหรือมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 42,529 บาท/ไร่ ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนลำไยมีกำไรโดยเฉลี่ยเท่ากับ 33,917 บาท/ไร่ สำหรับต้นทุนการตลาดโดยเฉลี่ยพ่อค้าผู้รวบรวมในท้องถิ่นเสียต้นทุนเท่ากับ 0.68 บาท/กิโลกรัม ส่วนพ่อค้าขายส่งและพ่อค้าส่งออกลำไยสดเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับ 2.78 และ 5.32 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์ต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศซึ่งวิเคราะห์ ณ ท่าเรือส่งออกแหลมฉบับของลำไยสดของภาคเหนือมีค่าเท่ากับ0.8850 และอัตราส่วนต้นทุนผู้ผลิตเท่ากับ 0.9588 เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีค่าต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศและอัตราส่วนต้นทุนผู้ผลิตเท่ากับ 1.0252 และ 1.1183 แสดง ว่าผลผลิตลำไยของภาคเหนือมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศได้และมี ความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเนื่องจากผลผลิตลำไย เฉลี่ยต่อไร่ของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังต่ำกว่าของไทยพอสมควร

ผล การศึกษาของการเปลี่ยนแปลงปริมาณผลผลิตตามสถานการณ์การผลิตและผลการ วิเคราะห์ระดับวิกฤตของปริมาณผลผลิต ราคาส่งออก การเปลี่ยนแปลงของค่าจ้างแรงงาน ค่าปุ๋ย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชพบว่า ถ้าปริมาณผลผลิตลำไยเฉลี่ยต่อไร่ลดลงทำให้ต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ มีค่าเพิ่มขึ้นหมายถึง ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบลคลงหรือความสามารถในการแข่งขันการส่งออกผล ผลิตลำไยสดลดลงต้วย แต่ถ้าปริมาณผลผลิตลำไยเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนการใช้ทรัพยากรภาย ในประเทศมีค่าลดลงหมายถึงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเพิ่มมากขึ้นหรือความ สามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นด้วย ส่วนผลการวิเคราะห์ระดับวิกฤตของปริมาณผลผลิตพบว่า ผลผลิตลำไยสดของเกษตรกรในภาคเหนือของไทยเฉลี่ย/ไร่ต้องไม่ตำกว่า 445 กิโลกรัม/ไร่ จึงจะทำให้มีความสามารถในการแข่งขันการส่งออกผลผลิตลำไยสดคง ส่วนผลการวิเคราะห์ระดับวิกฤตของราคาส่งออกผลผลิตลำไยสดเท่ากับ 19.50 บาท/กิโลกรัม เป็นระดับราคาที่ต่ำสุดที่ทำให้มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกผล ผลิตลำไยสดของภาคเหนือของไทยยังคงมีอยู่ สำหรับการวิเคราะห์ระดับวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนการผลิตด้านแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่เป็นค่าปุ๋ยและสารกาจัดแมลงและป้องกันศัตรูพืชที่จะทำ ให้ความสามารถในการแข่งขันการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคเหนือ ของไทยยังมีอยู่พบว่าอยู่ที่ระดับร้อยละ 70 และ 60 ตามลำดับ