บทคัดย่องานวิจัย

ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย

หทัยกาญจน์ อารยะรัตนกุล

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2546. 104 หน้า.

2546

บทคัดย่อ

ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย

กล้วยไม้ทำรายได้เข้าประเทศปีละกว่าพันล้านบาท แต่การผลิตกล้วยไม้มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาการผลิต การตลาค และปัญหาฐานการผลิตและการตลาดของเกษตรกรและวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิต ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อความด้อยประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตของเกษตรกร โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจเกษตรกร110 รายในจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ปีการผลิต 2544/45

จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรตัวอย่างมีที่ดินเฉลี่ยเท่ากับ13.97 ไร่/ครัวเรือน เป็นพื้นที่ปลูกกล้วยไม้เฉลี่ยเท่ากับ 11.13 ไร่ เกษตรกรตัวอย่างมีการปลูกสกุลหวายหลายพันธุ์ควบคู่กันแต่มักปลูกพันธุ์ บอม โจ แดง บอม 17 แดง และขาวสนาน ตามลำดับ สารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่เกษตรกรใช้กันมากคือแมนโคเซบ ส่วนสารเคมีกำจัคแมลงใช้ไซเปอร์เมทรินมากที่สุด เกษตรกรร้อยละ 98 มีการใช้สปริงเกลอร์ที่เหลือใช้สปริงเกลอร์และใช้ปุ๋ยชีวภาพ ตลาดกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวายมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทำการส่งออกร้อยละ 58.73 ส่วนที่เหลือจะขายในประเทศ ตลาดในประเทศแบ่งออกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาคท้องถิ่นและตลาดกรุงเทพ ฯ ส่วนตลาดต่างประเทศนั้นมีบริษัทส่งออกเป็นผู้ดำเนินการ เกษตรกรจะขายผลผลิตให้กับบริษัทส่งออกบริษัทเดียวคิดเป็นร้อยละ 55.45 หรือบริษัทส่งออกหลายบริษัทคิดเป็นร้อยละ 44.55 โดยตัดดอกไม้เฉลีย 3 - 4 ครั้งต่อสัปคาห์ เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกรกฏาคมกล้วยไม้มีราคาดีเพราะปริมาณผลผลิตมีไม่มาก(ราคาเฉลี่ย1.30 – 3.53 บาท/ช่อ) ส่วนเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม(ฤดูฝน) เนื่องจากผลผลิตมากเกินความต้องการและต่างประเทศมีการสั่งซื้อน้อย ราคาจะค่อนข้างต่ำ(ราคาเฉลี่ย 0.46 – 1.96 บาท/ช่อ ) เกษตรกรแก้ไขปัญูหานี้โดยขายในประเทศ และถ้าปริมาณผลผลิตมีมากกว่าความต้องการ เกษตรกรจะตัดช่อดอกทิ้งเพื่อให้ช่อดอกใหม่ออกมาทันกับช่วงที่ขายได้ดี ราคาเฉลี่ย คือ 1.08- 3.13 บาท/ช่อ เกษตรกรมักจะได้รับเงินหลังจากขายผลผลิตเฉลี่ย 46 วันและบริษัทส่งออกจะเป็นผู้ตั้งราคาเอง ส่วนปัญหาในฐานการผลิตและการตลาคกล้วยไม้ คือ ปัญหาคุณภาพน้ำ ปัญหาด้านพันธุ์ ปัญหาด้านโรคและปัญหาด้านแมลงตามลำต้บ

เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตโดยใช้แบบจำลอง Stochastic Production Frontierด้วยวิธี maximum likelihood estimationพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.90 ขึ้นไป มีปัจจัยหลายตัวที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อปริมาณผลผลิตนั้น อิทธิพลของตัวแปรเหล่านี้แต่ละตัวจะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ณ ระดับผลผลิตเฉลี่ยที่ 70,000 ช่อต่อไร่ กล่าวคือ ปริมาณปุ๋ยเพิ่มขึ้น 1 กก./ไร่/ปี การใช้แรงงานเพิ่มขึ้น 1 วันทำงาน/ไร่/ปี และการปลูกเพิ่มขึ้น 1 ต้น/ไร่ ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่อปีเพิมขึ้น 48.80 ช่อ 70.94 ช่อ และ 2.67 ช่อ ตามลำดับ ผลผลิตของการใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถให้ผลผลิตมากกว่าการใช้ต้นพันธุ์จากการแยกหน่อถึง 1.069% และผลผลิตในปีที่ 1 และ 2 สูงกว่าผลผลิตในปีที่ 3 เท่ากับ 1.163% และ 1.304% ตามลำดับ ปริมาณสารเคมีกำจัดโรคและแมลง และจำนวนพันธุ์กล้วยไม้อื่นที่ปลูกในสวนกล้วยไม้ไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ

ระดับของประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตของเกษตรกรเฉลี่ย0.78 ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความด้อยประสิทธิภาพทางเทคนิค ณ ระดับนัยสำคัญ 0.10 ได้แก่ ตัวแปรขนาดการผลิต จำนวนปีการศึกษาและความถี่ในการดูแลรักษา กล่าวคือ เมื่อตัวแปรเหล่านี้เพิมขึ้นมีผลให้ความด้อยประสิทธิภาพทางเทคนิคลดลงเท่ากับ 0.02 0.04 และ 0.003 ตามลำดับ ส่วนประสบการณ์ในการปลูกเลี้ยง ความรู้ในการปฏิบัติดูแลรักษา และค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ(ในช่วง 7.1 – 8.7)ที่ใช้รดกล้วยไม้สกุลหวายของเกษตรกรตัวอย่างมีค่าไม่แตกต่างกันมากจึงไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตอย่างมีนัยสำคัญู

การ วิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตมีความเชื่อมโยงกับ ขนาดการผลิตและการศึกษาของผู้ผลิตเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพการจัดการและ สำหรับการเพิ่มผลผลิตด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตนั้น เกษตรกรควรปรับปรุงปริมาณการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับราคากล้วยไม้และราคาปุ๋ย เนื่องจากเกษตรกรโดยเฉลี่ยทำการผลิตในช่วงผลผลิตเพิ่มอยู่ในระยะลดลง