ผลของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรบางชนิดต่ออายุการปักแจกันของดอกกุหลาบ
พัชรี สิริตระกูลศักดิ์
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2548. 230หน้า.
2548
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพร 5ชนิด คือ กวาวเครือแดง กระชายเหลือง พลูคาว บอระเพ็ด และรางจืด ต่อการยืดอายุการปักแจกันดอกกุหลาบพันธุ์ “Grand Gala” มี 3การทดลองย่อย คือ การทดลองที่ 1เป็นการสกัดพืชสมุทรไพรทั้ง 5ชนิด มาสกัดด้วยน้ำ และเอทานอล 70% แล้วนำสารสกัดหยาบทั้งหมดมาแยกสารออกฤทธิ์ด้วยวิธีโครมาโตรกราฟีแบบกระดาษโดยใช้สารละลายเอทธิลอะซิเตต เป็นสารตัวพาแยกเป็น Rf (Rf0-Rf4) แล้วปรับความเข้มข้นของสารสกัดหยาบเป็น 0.5% พบว่าสารสกัดดังกล่าวของพืชสมุทรไพรทุกชนิดเมื่อใช้เป็นน้ำยาปักแจกันร่วมกับสารละลายน้ำตาลซูโครส 5.0% ไม่สามารถยืดอายุการปักแจกันเนื่องจากสารละลายเอทธิลอะซิเตตเป็นพิษต่อดอกกุหลาบ ส่วนการทดลองที่ 2เป็นการใช้สารสกัดหยาบเข้มข้น 0, 1.0, 2.5, และ 100% ของพืชสมุทรไพรทั้ง 5 ชนิด โดยสกัดด้วยน้ำและเอทานอล พบว่า สารสกัดหยาบจากกวาวเครือแดง กระชายเหลือง และพลูคาว สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบได้ แต่บอระเพ็ดและรางจืดไม่สามารถยืดอายุการปักแจกัน การทดลองที่ 3เป็นการนำสมุทรไพรที่ได้ผลจากการทดลองที่ 2มาแยกสารออกฤทธิ์ด้วยวิธีโครมาโตรกราฟีแบบกระดาษ โดยใช้น้ำและสารละลายเอทานอลเป็นสารตัวพา มาทดสอบการยืดอายุการปักแจกัน พบว่า สารสกัดหยาบจากกวาวเครือแดง และพลูคาว ไม่สามารถยืดอายุการปักแจกัน แต่กระชายเหลืองสามารถยืดอายุการปักแจกัน เมื่อนำกระชายเหลือง (Rf2) ที่ได้จากการแยกสารออกฤทธิ์ด้วยวิธีโครมาโตรกราฟีแบบกระดาษโดยใช้เอทานอล 70% เป็นสารละลายตัวพา มาปรับความเข้มข้นเป็น 0, 3.0, 4.0, 5.0, 6.0 และ 7.0% และใช้ร่วมกับสารละลายน้ำตาลซูโครส 5.0% พบว่ากระชายเหลืองที่ความเข้มข้น 3.0% สามารถยืดอายุการปักแจกันได้ดีกว่าความเข้มข้นอื่น สำหรับการศึกษากายวิภาคของเนื้อเยื่อบริเวณคอดอกกุหลาบ พบว่า เนื้อเยื่อดังกล่าวของกรรมวิธีที่ใช้สารสกัดหยาบจากกวาวเครือแดง กระชายเหลือง และพลูคาว ไม่เกิดการอุดตันของระบบท่อลำเลียงน้ำ แต่รางจืดและบอระเพ็ดพบว่ามีการอุดตัน