บทคัดย่องานวิจัย

ลักษณะกายวิภาคของการตกกระในเปลือกผลกล้วยไข่

อารีรัฐ สุรธรรมจรรยา, เบญจมาศ ศิลาย้อย และเสาวณี สาธรวิริยะพงศ์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 3(พิเศษ). หน้า 319-322. 2552.

2552

บทคัดย่อ

ลักษณะกายวิภาคของการตกกระในเปลือกผลกล้วยไข่

การศึกษากายวิภาควิทยาการตกกระของเปลือกผลกล้วยไข่ (Musa acuminate ‘Kluai Khai’) ที่เก็บตัวอย่างในเดือน มิถุนายน 2551 ณ จังหวัดตาก โดยเก็บผลอ่อนอายุ 2วัน จนถึง 61 วัน หลังจากช่อดอกแทงออกจากปลี และบ่มผลที่โตเต็มที่ (49-61 วัน) ด้วย ethephon 500 ppm เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25°C พบว่า เซลล์ epidermis ของเปลือกผลอายุ 2 วัน เป็น papillae ผนังเซลล์หนา และไม่ปรากฏการสะสมของสารประกอบฟีนอลิกที่เนื้อเยื่อบริเวณ substomatal chamber เซลล์ parenchyma บริเวณชั้น mesocarp เริ่มปรากฏการยุบตัว เมื่อกล้วยไข่อายุ 56-61 วันปรากฏการตกกระที่เปลือกผล และมีการสะสมสารประกอบฟีนอลิกเพิ่มมากขึ้นในเซลล์ parenchyma เซลล์เกิดการยุบตัวเป็นบริเวณกว้างเห็นได้ชัดเจน ดังนั้น การยุบตัวของเซลล์ และการเกิดสารประกอบฟีนอลิก มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับการเกิดตกกระ